การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการของ
การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) สร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการ
แบบมีส่วนร่วมโรงเรียนหนองหานวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนหนองหานวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการ 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ และครูผู้สอน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2561 ระยะที่ 2 ศึกษาสถานศึกษาที่เป็นโรงเรียนต้นแบบ
การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กลุ่มเป้าหมายในการสัมภาษณ์โรงเรียนต้นแบบ โดยจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา ประกอบด้วย สถานศึกษา 3 แห่ง โดยเลือกจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน หัวหน้ากลุ่มบริหารวิชาการ 1 คน และครูผู้สอน 1 คน จำนวน 3 แห่ง แห่งละ 3 คน รวมทั้งสิ้น 9 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และระยะที่ 3 การสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนหนองหานวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระยะที่ 4 การนำรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนหนองหานวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปใช้
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. สภาพปัจจุบันการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. สภาพปัญหาการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขต
พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนหนองหานวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มีกระบวนการพัฒนา 6 ขั้นตอน 15 กิจกรรม คือ
ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและกำหนดประเด็นในการพัฒนา
กิจกกรมที่ 1 แนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
กิจกรรมที่ 2 การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา
กิจกรรมที่ 3 สรุปประเด็นสภาพปัจจุบันและปัญหา
กิจกรรมที่ 4 ศึกษาดูงานโรงเรียนที่มีการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม 3 แห่ง
กิจกรรมที่ 5 สัมภาษณ์ผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มบริหารวิชาการและครูผู้สอนโรงเรียน
ต้นแบบ 3 แห่ง
ขั้นตอนที่ 2 การสร้างทีมงานและพัฒนาศักยภาพทีมงาน
กิจกรรมที่ 6 สร้างทีมงาน
กิจกรรมที่ 7 ประชุมทีมงาน
ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนแบบมีส่วนร่วม
กิจกรรมที่ 8 ร่วมกันวางแผนพัฒนาโดยการระดมพลังสมอง
กิจกรรมที่ 9 จัดทำแผนและกิจกรรมการพัฒนาการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม
กิจกรรมที่ 10 กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ
ขั้นตอนที่ 4 การดำเนินงานตามแผนและปรับปรุงพัฒนา
กิจกรรมที่ 11 ร่วมปฏิบัติการดำเนินตามแผน
กิจกรรมที่ 12 ดำเนินงานตามขอบข่ายของงานวิชาการ 5 ด้าน
ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลและสรุป
กิจกรรมที่ 13 ร่วมตรวจสอบประเมินผลการปฏิบัติงาน
กิจกรรมที่ 14 ร่วมรับผลประโยชน์จากการสรุปผลการดำเนินงาน
ขั้นตอนที่ 6 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
กิจกรรมที่ 15 นำเสนอผลการดำเนินงาน
4. ผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนหนองหานวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พบว่า มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนหนองหานวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความพึงพอใจต่อคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ
แบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนหนองหานวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก