ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้ศึกษา นางสุธาสินี มะทะ
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษา ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียน ด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนอนุบาลสานสายใยรักเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา กองการศึกษาเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 19 คน ได้มาโดยการแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้หน่วยการสุ่มเป็นห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบฝึกทักษะ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 เล่ม แบบทดสอบหลังเรียนของแบบฝึกทักษะ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 6 ฉบับ ๆ ละ 10 ข้อ และแบบทดสอบ แบบอัตนัย จำนวน 4 ฉบับ ๆ ละ 4 ข้อ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ จำนวน 1 ฉบับ และแบบสอบถามความพึงพอใจ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า 1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า แบบฝึกทักษะ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ ดังนี้ เล่มที่ 1 เรื่อง ทบทวนเศษส่วน เศษส่วนอย่างต่ำ เศษเกิน และจำนวนคละเท่ากับ 83.68/83.20 เล่มที่ 2 เรื่อง การบวก ลบ เศษส่วน เท่ากับ 83.83/83.20 เล่มที่ 3 เรื่อง การบวก ลบ จำนวนคละ เท่ากับ 85.00/83.70 เล่มที่ 4 เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวกและการลบเศษส่วน เท่ากับ 84.16/81.85 เล่มที่ 5 เรื่อง การคูณเศษส่วน เท่ากับ 85.19/84.20 เล่มที่ 6 เรื่อง โจทย์ปัญหาการคูณเศษส่วน เท่ากับ 82.21/81.05 เล่มที่ 7 เรื่อง การหารเศษส่วนและการหารจำนวนคละ เท่ากับ 82.90/82.10 เล่มที่ 8 เรื่อง โจทย์ปัญหาการหารเศษส่วนและจำนวนคละ เท่ากับ 82.32/82.10 เล่มที่ 9 เรื่อง การบวก ลบ คูณหารระคนของเศษส่วน เท่ากับ 83.68/82.60 และเล่มที่ 10 เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณระคนของเศษส่วน เท่ากับ 83.06/82.65และมีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 83.60/82.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
2. ค่าดัชนีประสิทธิผล (The Effectiveness Index: E.I.) ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เท่ากับ เท่ากับ 0.7015 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น 0.7015 หรือคิดเป็นร้อยละ 70.15 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 0.50 หรือร้อยละ 50
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ( x̄= 4.69, S.D.= 0.51)