ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนวัดบางสะแก (ล้อมประชานุกูล)
ชื่อผู้ประเมิน นายสุรกิจ เยื้อเผ่าพันธุ์
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนวัดบางสะแก (ล้อมประชานุกูล) ปีการศึกษา 2560 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ประเมินด้านปัจจัยพื้นฐาน (Input Evaluation) ด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการโดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPของดีแอลสตัฟเฟิลบีมและคณะ (D.L.Stufflebeam and Others,1971:216-265) มาเป็นรูปแบบในการประเมิน ประชากรที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวัดบางสะแก (ล้อมประชานุกูล) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม รวมทั้งสิ้นจำนวน 92 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ ประกอบด้วย แบบสอบถาม จำนวน 3 ฉบับ และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการประเมิน
1.ผลการประเมินภาพรวมของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนวัดบางสะแก (ล้อมประชานุกูล) ปีการศึกษา 2560 เป็นการประเมินโครงการ 4 ด้าน คือ ประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ประเมินด้านปัจจัยพื้นฐาน (Input Evaluation) ด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพบว่า มีผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อยสามลำดับได้แก่ ด้านผลผลิต รองลงมาคือ ความพึงพอใจในผลการดำเนินงานตามโครงการและ ด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ
2. ผลการประเมินประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context evaluation) เป็นการประเมินความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการ และนโยบายทางการศึกษาผลการประเมิน ในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาในรายข้อพบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมากทุกข้อโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อยสามลำดับได้แก่ ด้านความสอดคล้องกับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ ด้านความสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานของโครงการ
3. ผลการประเมินด้านปัจจัยพื้นฐาน (Input evaluation) เป็นการประเมินความเหมาะสม/พอเพียงของปัจจัยนำเข้าที่ใช้ในโครงการ ประกอบด้วย บุคลากร งบประมาณ สื่อวัสดุอุปกรณ์ สถานที่ ผลการประเมินภาพรวม พบว่าอยู่ในระดับมากทุกรายการโดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยสามลำดับได้แก่ ด้านบุคลากรอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านวัสดุอุปกรณ์ สถานที่งบประมาณ และด้านงบประมาณ
4.ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ (Process evaluation) เป็นการประเมินความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินงานโครงการ ประกอบด้วย การวางแผน การดำเนินงาน กำกับนิเทศ การประเมินผล การปรับปรุงและพัฒนางาน ผลการประเมินภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาในรายข้อพบว่า มีผลการประเมินระดับมากทุกข้อ โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยสามอันดับ ได้แก่ กระบวนการดำเนินงานด้านการนิเทศ กำกับติดตาม และรายงานผล รองลงมาคือ ด้านกระบวนการดำเนินงานด้านการวางแผน และด้านกระบวนการดำเนินงานกระบวนการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน
5. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product evaluation) เป็นการประเมินความเหมาะสมของผลการดำเนินโครงการ ผลการประเมินภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากและมากที่สุด โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยสามอันดับ ได้แก่ นักเรียนทุกคนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา รองลงมาคือ นักเรียนเป็นผู้ที่มีวินัยและรับผิดชอบในการทำงาน ( = 4.78) และ นักเรียนมีความรู้จากการใช้แหล่งเรียนรู้ทั้ง 4 แหล่ง
6. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริหาร คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อโดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยสามอันดับ ได้แก่ กิจกรรมในโครงการทำให้นักเรียนเห็นประโยชน์ของเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง รองลงมาคือ กิจกรรมในโครงการ ส่งเสริมให้นักเรียนสนุกกับการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น และโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงควรจัดโครงการนี้ต่อเนื่องทุกๆ ปี