ชื่อเรื่อง: รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด (ตรงตามมาตรา) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้ศึกษา: จุฑามาส ปีอาทิตย์
ปีที่ศึกษา: 2561
บทคัดย่อ
การดำเนินการศึกษาในครั้งนี้ ผู้ศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด (ตรงตามมาตรา) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด (ตรงตามมาตรา) และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด (ตรงตามมาตรา) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/5 โรงเรียนพานพสกสวัสดิ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 18 คนได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด (ตรงตามมาตรา) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 9 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง การอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด (ตรงตามมาตรา) จำนวน 1 เล่ม รวม 20 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตอนที่ 1 แบบทดสอบวัดทักษะการอ่าน จำนวน 15 คำ ตอนที่ 2 แบบทดสอบวัดทักษะการเขียน จำนวน 15 คำ รวมคะแนน 30 คะแนน แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด (ตรงตามมาตรา) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 3 ระดับ จำนวน 12 ข้อ
การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด (ตรงตามมาตรา) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการคำนวณ หาค่า E1/E2 ด้วยค่าร้อยละ ศึกษาผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยค่าเฉลี่ย (X-bar) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ ค่าคะแนนความก้าวหน้า การทดสอบค่าที ( t- test) วิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วย แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด (ตรงตามมาตรา) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 3 ระดับ ด้วยค่าเฉลี่ย (X-bar) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) แล้วเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด (ตรงตามมาตรา) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จากกลุ่มทดลองแบบกลุ่มใหญ่ จำนวน 34 คน มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 คือ มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 82.43/82.35 และจากการนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 18 คน มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 84.96/83.33 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด (ตรงตามมาตรา) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 13.56 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 45.19 ส่วนคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 25.00 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 83.33 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนหลังเรียนกับก่อนเรียนด้วยค่าคะแนนความก้าวหน้าพบว่า มีค่าคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ย 11.44 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 38.15 เมื่อทดสอบค่าที( t- test) เท่ากับ 28.19 สรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. ระดับความพึงพอใจของนักเรียนเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด (ตรงตามมาตรา) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั้ง 4 ด้านได้แก่ ด้านความรู้สึกที่มีต่อการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านบทบาทของผู้เรียน และด้านบทบาทการสอนของครู มีค่าความพึงพอใจเฉลี่ย เท่ากับ 2.94 ซึ่งเป็นความพึงพอใจในระดับมาก