|
|
ชื่อผู้วิจัย นางภิรัชดา สุขเกลอ
ปีที่ศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา อุปสรรค ด้านการอ่าน การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด และความจำเป็นของการประเมินทักษะการอ่าน การเขียนคำ ที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด สำหรับครูผู้สอนภาษาไทย 2) เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำ ที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD และ เอ็กซ์พลิซิท สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อทดลองใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD และเอ็กซ์พลิซิท สำหรับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 2 4) เพื่อประเมินผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD และเอ็กซ์พลิซิท สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนาคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 1 โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดช่องลม) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ครู เรื่อง สภาพปัจจุบัน ปัญหา อุปสรรค ด้านการจัดการเรียนรู้ และฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด และการประเมินทักษะการอ่าน การเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 2) แบบสอบถามความคิดเห็นครูเกี่ยวกับ ความจำเป็นของการประเมินทักษะการอ่าน การเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 3) แบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD และเอ็กซ์พลิซิท สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 4) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค เอ็กซ์พลิซิท และแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่าน การเขียน คำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจจากการใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD และเอ็กซ์-พลิซิท สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เวลาที่ใช้ในการดำเนินการทดลอง 22 ชั่วโมง แบบแผน การทดลองเป็นแบบ One-Group Pretest-Posttest Design และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล และทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า E1/E2 และการทดสอบที (t-test dependent samples)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพผลการทดสอบ NT (National Test) ปีการศึกษา 2560 ด้านทักษะความสามารถทางด้านภาษา พบว่าได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 52.19 และสอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2560 พบว่าได้คะแนนปลายปีเฉลี่ยร้อยละ 72.25 และผลการสัมภาษณ์ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า ครูยังขาดความรู้ความเข้าใจในการนำเทคนิควิธีการ หรือสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนยังไม่หลากหลาย ขาดสื่อการเรียนการสอนที่สร้างความเร้าใจให้นักเรียน เลือกใช้วิธีการวัดและประเมินผล ที่ไม่เหมาะสมกับการพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน ภาษาไทย รวมทั้งครูขาดทักษะในการสร้าง และวิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือการประเมิน และขาดทักษะการสร้างเกณฑ์การประเมินการอ่าน การเขียนภาษาไทย สำหรับความคิดเห็นต่อความจำเป็นในการประเมินทักษะการอ่าน การเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X-bar = 4.59, S.D. = 0.63) โดยมีความจำเป็นในด้าน ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการส่งเสริมทักษะ การอ่าน การเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยมากกว่าด้านอื่น
2. ผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD และ เอ็กซ์พลิซิท สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ปรากฏผลดังนี้ การหาประสิทธิภาพรายบุคคล มีค่าเท่ากับ 53.24/51.67 การหาประสิทธิภาพกลุ่มย่อย มีค่าเท่ากับ 73.03/63.00 และการหาประสิทธิภาพภาคสนาม มีค่าเท่ากับ 83.94/81.29
3. ผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD และ เอ็กซ์พลิซิท สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า แบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 84.29/82.64 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ โดยทั้ง 4 เล่ม มีค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดทุกเล่ม และผลสัมฤทธิ์การอ่าน การเขียน คำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด จากการใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD และเอ็กซ์ พลิซิทหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. การประเมินผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD และเอ็กซ์พลิซิท สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยวิธีการวัดความพึงพอใจของนักเรียนหลังจากการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ผลปรากฏว่าในภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ( X-bar =4.51, S.D. = 0.60)
|
โพสต์โดย ภิรัชดา สุขเกลอ : [27 พ.ค. 2562 เวลา 11:34 น.] อ่าน [4865] ไอพี : 159.192.97.210
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก
|
|
|
|
|
|
|
โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2. ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป
3. สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น
7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป
** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**
|
|
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ เปิดอ่าน 15,399 ครั้ง
| เปิดอ่าน 11,616 ครั้ง
| เปิดอ่าน 13,884 ครั้ง
| เปิดอ่าน 18,606 ครั้ง
| เปิดอ่าน 15,333 ครั้ง
| เปิดอ่าน 9,549 ครั้ง
| เปิดอ่าน 16,723 ครั้ง
| เปิดอ่าน 14,789 ครั้ง
| เปิดอ่าน 10,304 ครั้ง
| เปิดอ่าน 10,124 ครั้ง
| เปิดอ่าน 14,057 ครั้ง
| เปิดอ่าน 12,840 ครั้ง
| เปิดอ่าน 14,495 ครั้ง
| เปิดอ่าน 13,245 ครั้ง
| เปิดอ่าน 14,088 ครั้ง
| |
|
เปิดอ่าน 1,297 ครั้ง
| เปิดอ่าน 20,939 ครั้ง
| เปิดอ่าน 11,026 ครั้ง
| เปิดอ่าน 13,165 ครั้ง
| เปิดอ่าน 18,077 ครั้ง
|
|
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด
|