ชื่อผู้ประเมิน : นางสาวสุพิชฌาย์ ทองเนื้อห้า ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านก่องาม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
ปีการศึกษา : 2561
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านก่องาม ปีการศึกษา 2561
โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินด้านบริบทของโครงการ (2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ (3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการของโครงการ (4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ประชากรที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 1 คน ครู จำนวน 4 คน นักเรียน จำนวน 58 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 58 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่นับรวมตัวแทนครูและผู้บริหารจำนวน 2 คน) รวม จำนวน 128 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน คือ (1) แบบสอบถามด้านบริบทของโครงการ
(2) แบบสอบถามด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ (3) แบบสอบถามด้านกระบวนการของโครงการ
(4) แบบสอบถามด้านผลผลิตของโครงการ
สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ การหาค่าความสอดคล้อง (IOC) การหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) และการหาค่าอำนาจจำแนก (r) เป็นการวิเคราะห์เพื่อหาคุณภาพของเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินและข้อเสนอแนะสรุปได้ ดังนี้
1. การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านก่องาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ผลการประเมินโดยรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านผลผลิตของโครงการ ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ และด้านบริบทของโครงการ
2. การประเมินด้านบริบทของโครงการ ผลการประเมินพบว่า มีความสอดคล้องอยู่ในระดับ
มาก เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ความจำเป็นของโครงการ ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องกับนโยบายต้นสังกัด / โรงเรียน และความเหมาะสมของกิจกรรมของโครงการเศรษฐกิจเศรษฐกิจพอเพียง
3. การประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ ผลการประเมินพบว่า มีความเพียงพอเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ความเหมาะสมของสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ และความเหมาะสมด้านการบริหารจัดการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ความพร้อมของบุคลากร และความเหมาะสมของงบประมาณ
4. การประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ ผลการประเมินพบว่า
มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากที่สุด
5. การประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ผลการประเมินพบว่า มีประสิทธิผลอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ กิจกรรมเพาะเห็ด กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ และกิจกรรมปลูกไม้ผลอายุสั้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากันกับกิจกรรมงานสร้างอาชีพ/คหกรรม