1. ชื่องาน (กระบวนงาน) : การเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ตำแหน่งครูผู้ช่วย
(ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.7/ว 19 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2561)
2. วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาครูผู้ช่วยให้มีความรู้ ความประพฤติ คุณลักษณะเหมาะสม และมีคุณภาพส่งผลต่อผู้เรียน
3. ขอบเขตของงาน
สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.ที่ ศธ 0206.7/ว 19 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2561 โดยให้ใช้บังคับสำหรับผู้ที่ได้รับ การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 เป็นต้นไป เพื่อให้การเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ตำแหน่งครูผู้ช่วย เป็นเวลาสองปีก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู เป็นไปอย่างมีระบบ เป็นมาตรฐาน บรรลุ ความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาให้ครูผู้ช่วยมีความรู้ ความประพฤติ คุณลักษะเหมาะสม และมีคุณภาพส่งผลต่อผู้เรียน
4. คำจำกัดความ
การเตรียมความพร้อม หมายถึง กระบวนการในการพัฒนาบุคคลที่เข้ามาดำรงตำแหน่งครู มาตรา 56 ซึ่งต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 ที่บัญญัติให้ผู้ใดที่ได้รับ การบรรจุและแต่งตั้งให้เข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ใดได้รับการบรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งครู ให้ผู้นั้นเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มในตำแหน่งครู เป็นเวลา 2 ปี ก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู เพื่อพัฒนาครูผู้ช่วย ให้มีความรู้ ความประพฤติ คุณลักษณะเหมาะสมและมีคุณภาพส่งผลต่อผู้เรียน การเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ใช้กับผู้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย เพื่อแต่งตั้งเป็นตำแหน่งครู
5. กฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการ
5.1 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 มาตรา 53 และมาตรา 56
5.2 หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 24 ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2548
เรื่อง การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
5.3 หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.6/ว 7 ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2553
เรื่อง การแต่งตั้งครูผู้ช่วยให้ดำรงตำแหน่งครู ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551
5.4 คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวัน ที่ 3 เมษายน 2560 ข้อ 13 การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในจังหวัดหรือกรุงเทพมหานครตามมาตรา 53 (3) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ให้ศึกษาธิการจังหวัดโดยความเห็นชอบของ กศจ. เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
5.5 หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.7/ว 19 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2561
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ตำแหน่งครูผู้ช่วย
5.6 หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.7/ว 26 ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2561
เรื่อง แบบประเมินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ตำแหน่งครูผู้ช่วย
5.7 หนังสือสำนักงาน ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 1676 ลงวันที่ 12 มีนาคม 2562
เรื่อง ซักซ้อมการแต่งตั้งครูผู้ช่วยให้ดำรงตำแหน่งครู เพื่อนับตัว ณ วันที่ 1 มีนาคม 2562
6. สรุปสาระสำคัญของหลักเกณฑ์และวิธีการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ตำแหน่ง
ครูผู้ช่วย ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.ที่ ศธ 0206.7/ว 19 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2561
หลักเกณฑ์
1.การเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ตำแหน่งครูผู้ช่วย มีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ครูผู้ช่วย มีความรู้ ความประพฤติ และคุณลักษณะเหมาะสม ในหน้าที่ความรับผิดชอบตามมาตรฐานตำแหน่งที่ ก.ค.ศ.กำหนด และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเป็นครูที่ดี
2.ผู้ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย ต้องเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มเป็นเวลาสองปี ในสถานศึกษาที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง
3.องค์ประกอบของคณะกรรมการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม 3 คน ประกอบด้วย
(1) ผู้อำนวยการสถานศึกษา ประธานกรรมการ
(2) ผู้ดำรงตำแหน่งครูในสถานศึกษา กรรมการ
(3) ผู้ทรงคุณวุฒิอื่นจากภายนอกสถานศึกษา กรรมการ
4.ให้มีการประเมินเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่องทุกหกเดือน รวมสี่ครั้ง เป็นเวลาสองปี
5.กำหนดหลักสูตรการพัฒนาตามโครงสร้างหลักสูตรไว้ 5 หมวด คือ
หมวดที่ 1 วินัย คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ
หมวดที่ 2 การจัดการเรียนการสอน
หมวดที่ 3 การบริหารจัดการชั้นเรียน
หมวดที่ 4 การมีส่วนร่วมการพัฒนาในสถานศึกษาและชุมชนการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ
หมวดที่ 5 ทักษะการใช้ภาษาและเทคโนโลยีดิจิทัล
6.ให้มีผลการประเมินจากกรรมการทุกคนเฉลี่ยดังนี้
ครั้งที่ 1 คะแนนในแต่ละด้าน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
ครั้งที่ 2 คะแนนในแต่ละด้าน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
ครั้งที่ 3 คะแนนในแต่ละด้าน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
ครั้งที่ 4 คะแนนในแต่ละด้าน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
7.กำหนดให้ครูผู้ช่วยที่ลาคลอดบุตร ลาป่วย ลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล สามารถนับเป็นระยะเวลาการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มได้ไม่เกินเก้าสิบวัน หากลาเกินเก้าสิบวันให้เตรียมความพร้อมและพัฒนา อย่างเข้มตามจำนวนวันที่ลาเกินให้ครบสองปี
วิธีการ
1. การแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ตำแหน่งครูผู้ช่วย ดำเนินการดังนี้
1.1 สถานศึกษาเสนอรายชื่อผู้ดำรงตำแหน่งครู ในสถานศึกษา ไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดส่งรายชื่อดังกล่าวไปยังสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพิจารณา
1.2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เสนอบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิอื่นจากภายนอกสถานศึกษา ไปยังสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด เพื่อเสนอ กศจ. พิจารณาให้ความเห็นชอบ
2. ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 (ศธจ.) พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ตำแหน่งครูผู้ช่วย ประกอบด้วย
2.1 ผู้อำนวยการสถานศึกษา ประธานกรรมการ
2.2 ผู้ดำรงตำแหน่งครูในสถานศึกษา กรรมการ
2.3 ผู้ทรงคุณวุฒิอื่นจากภายนอกสถานศึกษา กรรมการ
3. ให้คณะกรรมการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ตำแหน่งครูผู้ช่วย วางแผนและดำเนินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มร่วมกับครูผู้ช่วยด้วยรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย ส่งเสริม สนับสนุน ให้คำปรึกษา สอนงาน ช่วยเหลือ และแนะนะการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้ครูผู้ช่วยมีคุณลักษณะและสมรรถนะในการปฏิบัติตนและการปฏิบัติงานที่ส่งผล ต่อคุณภาพของผู้เรียน ประเมินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง และสรุปผลการประเมิน ทุกหกเดือน โดยมุ่งเน้นการประเมินเพื่อการพัฒนา รวมสี่ครั้งในเวลาสองปีตามแบบประเมินที่ ก.ค.ศ.กำหนด
4. สรุปผลการประเมินเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ภายในสามสิบวันนับแต่วันครบสองปี แล้วรายงานให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเสนอผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 พิจารณา
7. สรุปสาระสำคัญของแบบประเมินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ตำแหน่งครูผู้ช่วย
ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.ที่ ศธ 0206.7/ว 19 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2561
1. แบบประเมินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ตำแหน่งครูผู้ช่วย สำหรับคณะกรรมการเตรียม ความพร้อมและพัฒนารอย่างเข้ม ประเมินคุณลักษณะและสมรรถนะของครูผู้ช่วย ด้านการปฏิบัติตนและด้านการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย
1.1 แบบประเมินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ตำแหน่งครูผู้ช่วย และบันทึกข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ จุดเด่น และจุดที่ควรพัฒนา
1.2 แบบสรุปผลการประเมินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ตำแหน่งครูผู้ช่วย และสรุปข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ จุดเด่น และจุดที่ควรพัฒนา
2. แบบประเมินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ตำแหน่งครูผู้ช่วย มีองค์ประกอบ ดังนี้
2.1 ด้านการปฏิบัติตน ( 40 คะแนน) ประกอบด้วย
1) วินัยและการรักษาวินัย (6 คะแนน)
2) คุณธรรม จริยธรรม (6 คะแนน)
3) จรรยาบรรณวิชาชีพ (6 คะแนน)
4) การดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (6 คะแนน)
5) จิตวิญญาณความเป็นครู (6 คะแนน)
2.2 ด้านการปฏิบัติงาน ( 60 คะแนน) ประกอบด้วย
1) การจัดการเรียนการสอน (24 คะแนน)
2) การบริหารจัดการชั้นเรียน (12 คะแนน)
3) การพัฒนาตนเอง (8 คะแนน)
4) การทำงานเป็นทีม (4 คะแนน)
5) งานกิจกรรมตามภารกิจบริหารงานของสถานศึกษา (8 คะแนน)
6) การใช้ภาษาและเทคโนโลยี (4 คะแนน)
3. เกณฑ์การประเมิน
วิธีการประเมินแต่ละรายงการ ให้กรรมการประเมิน ดำเนินการดังนี้
3.1 พิจารณาจากเอกสาร/หลักฐานร่องรอยที่สะท้อนผลการพัฒนาการปฏิบัติตนและการปฏิบัติงาน ที่ปรากฎในแบบประเมินด้านการปฏิบัติตนและแบบประเมินด้านการปฏิบัติงาน โดยทำเครื่องหมาย / ในวงกลมหน้าเอกสาร/หลักฐานที่ใช้ประกอบการประเมิน
3.2 เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับใด ให้ทำเครื่องหมาย / ในช่องระดับคุณภาพนั้นโดย
ระดับ 4 หมายถึง ดีมาก เท่ากับ 4 คะแนน
ระดับ 3 หมายถึง ดี เท่ากับ 3 คะแนน
ระดับ 2 หมายถึง พอใช้ เท่ากับ 2 คะแนน
ระดับ 1 หมายถึง ปรับปรุง เท่ากับ 1 คะแนน
(กรณีที่ได้ระดับ 1 ต้องระบุเหตุผลในบันทึกสังเกต ให้ชัดเจน)
3.3 ตัวอย่าง - คะแนนเต็มในข้อนี้ (ข้อใหญ่) คือ 6 คะแนน
- มีรายการประเมิน (ข้อย่อย) ในข้อนี้ จำนวน 5 ข้อ
- ระดับคุณภาพมี 4 ระดับ
- ผลรวมการประเมินในข้อนี้ มีดังนี้
ดีมาก จำนวน 1 ข้อ เท่ากับ 4 คะแนน
ดี จำนวน 3 ข้อ เท่ากับ 9 คะแนน
พอใช้ จำนวน 1 ข้อ เท่ากับ 2 คะแนน
ผลรมการประเมิน = 4+9+2
= 15 คะแนน
สูตรคำนวณคะแนนการประเมิน คือ
คะแนนการประเมิน = (ผลรวมการประเมินในข้อนี้ x (คะแนนเต็มในข้อนี้)
(จำนวนรายการประเมินในข้อนี้ x (ระดับคุณภาพ)
6) จิตสำนึกความรับผิดชอบในวิชาชีพครู (8 คะแนน)
เมื่อแทนค่าในสูตรคำนวณที่กำหนด จะได้เป็น
คะแนนประเมิน = (ผลรวมการประเมิน) x (6)
(5) x (4)
= (15) x (6)
(20)
4.50
ดังนั้น คะแนนการประเมิน ข้อ 4 (4.1 4.5) คือ 4.50 คะแนน
3.4 ให้นำคะแนนการประเมินที่ได้จากข้อ 3.3 บันทึกลงในช้องคะแนนการประเมิน (ท้ายตารางของแต่ละข้อ)
3.5 ให้กรรมการประเมิน รวมคะแนนการประเมินในแต่ละด้าน แล้วบันทึกลงในช่องรวมคะแนนการประเมิน (ท้ายตารางของแต่ละด้าน)
3.6 ให้กรรมการประเมิน บันทึกข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ จุดเด่น และจุดที่ควรพัฒนา ในรายการที่ประเมิน
4. วิธีการลงบันทึกสรุปผลการประเมิน ให้ดำเนินการดังนี้
4.1 ให้นำคะแนนการประเมินและข้อสังเกตฯ จากแบบประเมินผลการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ตำแหน่งครูผู้ช่วย ของกรรมการแต่ละคน มาบันทึกลงในแบบสรุปผลการประเมินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ตำแหน่งครูผู้ช่วย
4.2 คำนวณหาผลรวมคะแนนในแต่ละด้านจากกรรมการทุกคนเฉลี่ย โดยผู้ผ่านเกณฑ์การประเมินต้องมีผลการประเมินเป็นไปตามเกณฑ์ตัดสินในข้อ 5
5. เกณฑ์ตัดสิน
ให้คณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติตนและการปฏิบัติงาน โดยกำหนดให้มีคะแนนรวม 100 คะแนน ประกอบด้วย องค์ประกอบด้านการปฏิบัติตน (40 คะแนน) และองค์ประกอบด้านการปฏิบัติงาน (60 คะแนน) และให้มีการประเมินผลการปฏิบัติตนและการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง ทุกหกเดือน รวมสี่ครั้งในเวลาสองปี ดังนี้
ครั้งที่ 1 ผลการประเมินจากกรรมการทุกคนเฉลี่ยในแต่ละด้าน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
เกณฑ์ผ่าน ด้านการปฏิบัติตน ไม่ตำกว่า 25 คะแนน
ด้านการปฏิบัติงาน ไม่ตำกว่า 36 คะแนน
ครั้งที่ 2 ผลการประเมินจากกรรมการทุกคนเฉลี่ยในแต่ละด้าน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
เกณฑ์ผ่าน ด้านการปฏิบัติตน ไม่ตำกว่า 25 คะแนน
ด้านการปฏิบัติงาน ไม่ตำกว่า 36 คะแนน
ครั้งที่ 3 ผลการประเมินจากกรรมการทุกคนเฉลี่ยในแต่ละด้าน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
เกณฑ์ผ่าน ด้านการปฏิบัติตน ไม่ตำกว่า 28 คะแนน
ด้านการปฏิบัติงาน ไม่ตำกว่า 42 คะแนน
ครั้งที่ 4 ผลการประเมินจากกรรมการทุกคนเฉลี่ยในแต่ละด้าน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
เกณฑ์ผ่าน ด้านการปฏิบัติตน ไม่ตำกว่า 28 คะแนน
ด้านการปฏิบัติงาน ไม่ตำกว่า 42 คะแนน
8. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
การเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มสำหรับตำแหน่งครูผู้ช่วยเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด (หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ.0206.7/ว 19 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2561 ดังนี้
8.1 ระดับสถานศึกษา
1) ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาเสนอรายชื่อผู้ดำรงตำแหน่งครู ในสถานศึกษา ไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเสนอรายชื่อไปยังสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพิจารณาดำเนินการ กรณีไม่มี ผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา/ครูในสถานศึกษาให้แต่งตั้งจากสถานศึกษาอื่นที่อยู่ใกล้เคียง
2) ให้สถานศึกษาดำเนินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มสำหรับผู้ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง เข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย เป็นเวลาสองปีในสถานศึกษาที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง นับแต่วันเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ ก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู
กรณีครูผู้ช่วยผู้ใดลาคลอดบุตร ลาป่วยซึ่งจำเป็นต้องรักษาตัวเป็นเวลานาน ลาป่วยเพราะประสบอันตรายในขณะปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือขณะเดินทางไปหรือกลับจากปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือลาเข้ารับการตรวจเลือก หรือเข้ารับการเตรียมพล ให้นับวันลาดังกล่าว รวมเป็นระยะเวลาการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มได้ไมเกินเก้าสิบวัน หากลาเกินเก้าสิบวัน ผู้นั้นต้องเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มจามจำนวนวันลาที่เกินให้ครบสองปี
3) ให้คณะกรรมการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม มีหน้าที่พัฒนาและประเมินผลการปฏิบัติตนและการปฏิบัติงานควบคู่กันเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่องทุกหกเดือน รวมสี่ครั้งในเวลาสองปีตามแบบประเมิน ที่ ก.ค.ศ.กำหนด
4) ให้คณะกรรมการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ดำเนินการดังนี้
(4.1) วางแผนและดำเนินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มร่วมกับครูผู้ช่วยด้วยรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย
(4.2) ส่งเสริม สนับสนุน ให้คำปรึกษา สอนงาน ช่วยเหลือ และแนะนะการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้ครูผู้ช่วย มีคุณลักษณะและสมรรถนะในการปฏิบัติตนและการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนตามหลักเกณฑ์ข้อ 4 ให้เตรียม ความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มเป็นไปตามหลักสูตรที่กำหนดแนบท้ายหลักเกณฑ์นี้ เพื่อให้ครูผู้ช่วยมีคุณลักษณะและสมรรถนะ ในการปฏิบัติตนและการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน ดังต่อนี้
(4.2.1) การมีวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
(4.2.2) การมีส่วนร่วมการพัฒนาในสถานศึกษาและชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
(4.2.3) การพัฒนาวิชาชีพตามลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านการจัดการเรียนการสอนและด้าน การบริหารจัดการชั้นเรียน ตามมาตรฐานตำแหน่งครูผู้ช่วย ที่ ก.ค.ศ.กำหนด
(4.2.4) ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสาร เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ให้ผู้เรียน
(4.3) มอบหมายให้คณะกรรมการตามหลักเกณฑ์ ข้อ 5.2 ผู้ดำรงตำแหน่งครู ทำหน้าที่ครูพี่เลี้ยง แนะนำการปฏิบัติตนและการปฏิบัติงาน
(4.4) ประเมินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มเป็นระยะ อย่างต่อเนื่อง และสรุปผลการประเมินทุกหกเดือน โดยมุ่งเน้นการประเมินเพื่อการพัฒนา รวมสี่ครั้งในเวลาสองปีตามแบบที่ ก.ค.ศ.กำหนด
กรณีไม่สามารถประเมินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มด้วยเหตุใด ๆ ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษารายงานผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 ทราบโดยเร็ว
(4.5) แจ้งผลการประเมินโดยมีข้อเสนอแนะ จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา และข้อสังเกตจากการประเมินในแต่ละครั้ง ให้ครูผู้ช่วยทราบภายในสิบห้าวัน นับแต่วันครบรอบการประเมินแล้วให้ผู้อำนวยการสถานศึกษารายงานผู้อำนวยการสำนักงาน เขตพื้นที่ เพื่อเสนอผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 พิจารณา
(4.6) สรุปผลการประเมินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ภายในสามสิบวันนับแต่วันครบสองปีแล้วรายงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเสนอผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 พิจารณา
8.2 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เสนอบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิอื่นจากภายนอกสถานศึกษา ไปยังสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด เพื่อเสนอ กศจ. พิจารณาให้ความเห็นชอบ
2) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เสนอรายชื่อข้าราชการครูไปยังสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพิจารณาดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม
3) สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด โดยศึกษาธิการจังหวัด จัดปฐมนิเทศครูผู้ช่วย เพื่อพัฒนาให้ครูผู้ช่วยมีความรู้ ความประพฤติ คุณลักษณะที่เหมาะสม และมีคุณภาพส่งผลต่อผู้เรียน
4) นำผลการประเมินของคณะกรรมการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม เมื่อครบสองปีทั้งสี่ครั้งเสนอ กศจ.พิจารณาอนุมัติ และให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 ออกคำสั่งแต่งตั้งครูผู้ช่วยให้ดำรงตำแหน่งครู
5) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรวจความถูกต้องของคำสั่งแล้วส่งคำสั่งให้กลุ่มงานที่เกี่ยวข้อง
8.3 ระดับเขตพื้นที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด
1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เสนอบัญชีรายชื่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นจากภายนอกสถานศึกษา
ให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด เสนอ กศจ. พิจารณาเห็นชอบ
2) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เสนอรายชื่อข้าราชการครูไปยังสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพิจารณาดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ตามข้อ 5 ให้ศึกษาธิการจังหวัดแต่งตั้ง
3) ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 (ศธจ.) พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม จำนวน 3 คน โดยมีองค์ประกอบตามลำดับ ดังนี้
(3.1) ผู้อำนวยการสถานศึกษา ประธานกรรมการ
(3.2) ผู้ดำรงตำแหน่งครูในสถานศึกษา กรรมการ
(3.3) ผู้ทรงคุณวุฒิอื่นจากภายนอกสถานศึกษา กรรมการ
4) เมื่อผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 (ศธจ.) ได้รับรายงานแล้วให้ดำเนินการดังนี้
(4.1) กรณีครูผู้ช่วยผู้ใดเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มครบสองปีแล้ว ผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์การประเมินที่ ก.ค.ศ.กำหนด และผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 พิจารณาเห็นว่าควรให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป ให้นำเสนอ กศจ. พิจารณาอนุมัติ และให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 ออกคำสั่งแต่งตั้งครูผู้ช่วยผู้นั้นให้ดำรงตำแหน่งครูในวันถัดจากวันครบกำหนดการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม
(4.2) กรณีครูผู้ช่วยผู้ใดมีผลการประเมินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มต่ำกว่าเกณฑ์การประเมินที่ ก.ค.ศ.กำหนด และผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 พิจารณาเห็นว่าไม่สมควรให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป ให้แจ้งผลการประเมินและความเห็น ให้ผู้นั้นทราบ และให้โอกาสโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานภายในห้าวันทำการ นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการประเมิน และหากพิจารราแล้วยังเห็นว่าไม่สมควรให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป ก็ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ
10. ข้อสังเกต
10.1 การนับเวลาการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม 2 ปี ให้นับวันเข้าปฏิบัติราชการวันแรกเป็นวันเริ่มต้นและนับระยะเวลาสิ้นสุดตามปีปฏิทิน
10.2 กรณีครูผู้ช่วยผู้ใดลาคลอดบุตร ลาป่วยซึ่งจำเป็นต้องรักษาตัวเป็นเวลานาน ลาป่วยเพราะประสบอันตรายในขณะปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือขณะเดินทางไปหรือกลับจากปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือลาเข้ารับการตรวจเลือก หรือเข้ารับการเตรียมพล ให้นับวันลาดังกล่าว รวมเป็นระยะเวลาการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มได้ไมเกินเก้าสิบวัน หากลาเกินเก้าสิบวัน ผู้นั้นต้องเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มจามจำนวนวันลาที่เกินให้ครบสองปี
10.3 วัน เดือน ปี ที่แต่งตั้งครูผู้ช่วยให้ดำรงตำแหน่งครู และวันที่ให้ได้รับเงินเดือนต้องเป็นวันเดียวกัน
10.4 การประเมินผลสรุปทุก 6 เดือน ตลอดระยะเวลา 2 ปี รวม 4 ครั้ง โดยใช้แบบประเมินเดียวกัน
10.5 เกณฑ์การประเมินครูผู้ช่วยต้องได้คะแนนการประเมินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 2 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 สำหรับการประเมินครั้งที่ 3 ถึงครั้งที่ 4 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 จึงจะถือเป็นเกณฑ์ การประเมินแต่ละครั้ง