ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์โดยใช้ชุดกิจกรรม
เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ของไหล วิชาฟิสิกส์ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น
ผู้วิจัย อลิษา หลาบหนองแสง
สถานศึกษา โรงเรียนสิริราชอนุสรณ์ อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว
ปีที่พิมพ์ 2561
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนการสอนด้วยชุดกิจกรรมเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เพราะชุดกิจกรรมเป็นนวัตกรรมทางการศึกษารูปแบบหนึ่งที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้เรียน เป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ในแต่ละการเรียนรู้ที่กำหนไว้
ในบทเรียนแต่ละบทเรียนด้วยตนเองตามความสามารถและความสนใจ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ของไหล วิชาฟิสิกส์ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ของไหล วิชาฟิสิกส์ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น 3) ศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ของไหล วิชาฟิสิกส์ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ร่วมกับ การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น จำแนกตามผลการเรียนวิทยาศาสตร์ 4) ศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ของไหล วิชาฟิสิกส์ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น จำแนกตามผลการเรียนวิทยาศาสตร์ และ 5) ศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ของไหล วิชาฟิสิกส์ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ที่กำลังศึกษา อยู่ในปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสิริราชอนุสรณ์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว จำนวน 21 คน ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยการจับสลากห้องเรียน เครื่องมือ ที่ใช้ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ของไหล วิชาฟิสิกส์ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 8 ชุด 2) คู่มือการใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ร่วมกับ การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ 2 เรื่อง ของไหล จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.28 - 0.78 ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง (r) 0.26 - 0.76 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก มี 3 ด้าน ๆ ละ 10 ข้อ คือ ด้านการวิเคราะห์ความสำคัญ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ และวิเคราะห์หลักการ มีค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.27 - 0.77 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง (r) 0.25 - 0.71 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ของไหล วิชาฟิสิกส์ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น จำนวน 13 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.45 0.77 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Sample) และ F-test (MANCOVA และ ANCOVA) ผลการศึกษา พบว่า
1. ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ของไหล วิชาฟิสิกส์ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น มีค่าเท่ากับ 82.82/86.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ของไหล วิชาฟิสิกส์ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร การเรียนรู้ 5 ขั้น มีค่าเท่ากับ 0.7162
3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ผลการเรียนวิทยาศาสตร์ไม่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผลการเรียนวิทยาศาสตร์กับการทดสอบก่อน - หลังเรียนต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
4. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น สูงกว่าก่อนเรียน และนักเรียนที่มีผลการเรียนวิทยาศาสตร์สูงมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงกว่านักเรียนที่มี ผลการเรียนวิทยาศาสตร์ต่ำ และไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผลการเรียนวิทยาศาสตร์กับการทดสอบ ก่อน - หลังเรียนต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์
5. นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ : ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ วัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น การคิดวิเคราะห์