บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย ชุด ภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองพัทลุง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย : นางปิยวรรณ บุญฤทธิ์ ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาล
วัดนางลาด อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
ปีที่วิจัย : ปีการศึกษา 2560
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1)เพื่อสร้างและพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชุด ภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองพัทลุง ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ชุด ภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองพัทลุง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 3)เพื่อศึกษา ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน จับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชุด ภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองพัทลุง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 โรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 33 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วย 1)แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 9 แผน รวมเวลา 18 ชั่วโมง 2)หนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชุด ภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองพัทลุง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 9 ชุด 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัยชนิด 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ4)แบบ สอบถามความพึงพอใจ แบบมาตราส่วนประมาณค่าชนิด 5 ระดับของ ลิเคิร์ท จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (t test Dependent Samples)
ผลการทดลอง พบว่า
1. หนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชุด ภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองพัทลุง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.65/81.41
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชุด ภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองพัทลุง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (t test Dependent Samples) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยค่า t ที่ได้จากการคำนวณมีค่าเท่ากับ 56.49 มีค่ามากกว่าค่า t ที่ได้จากการเปิดตาราง (.01 t 32= 2.4487)
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชุด ภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองพัทลุง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.50