ชื่อเรื่อง (e-learning) คอมพิวเตอร์ช่วยสอน Google Classroom
ผู้ศึกษา นาวสาวแพรใจ ศรีจันทะ
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1. ศึกษาเอกสาร หนังสือ ตำรา งานวิจัย และบทความต่างๆ นำมาวิเคราะห์ เพื่อสรุปจุดมุ่งหมายและแนวทาง วิธีการการผลิตสื่อ E-learning
2. การออกแบบบทเรียน โดย วิเคราะห์หลักสูตร เวลาที่ใช้ในการเรียน โอกาสในการเรียนของผู้เรียน วิเคราะห์ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง คัดเลือกเนื้อหา ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญและจำเป็น วิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา รายวิชา ง 16101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน Google Classroom โดยระบบ e-learnin
2.1 ข้อมูล ประโยชน์ของข้อมูล
2.2 การรับข้อมูล
2.3 การประมวลผลข้อมูล
2.4 การแสดงผลข้อมูล
2.5 อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
2.6 หน้าที่และการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
2.7 การนำเสนอข้อมูล โปรแกรม Power Point
3. จัดทำบทเรียน โดยการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ และเนื้อหาที่กำหนดไว้ จัดทำสื่อการสอนในรูปแบบต่างใบความรู้ ใบกิจกรรม แบบทดสอบ ที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้และน่าสนใจ
4. ทำแบบทดสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ จำนวน 2 ชุด เป็นแบบทดสอบก่อนเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน นำข้อสอบโพสต์ลงในเพท Google classroom
5. ประเมินหาประสิทธิภาพของสื่อ E-learning โดยคำนวณค่า E1 คือ ค่าประสิทธิภาพของคะแนนที่นักเรียนที่ได้รับโดยเฉลี่ยจากผลของการทำใบกิจกรรม E2 หมายถึง ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ คิดเป็นร้อยละของคะแนนที่นักเรียนในแบบทดสอบหลังเรียน
6. ทำแบบสอบถามความคิดเห็นต่อการใช้สื่อ E-learning นำแบบสอบถามโพสต์ลงในเพท Google classroom
7. บรรจุบทเรียนลงในระบบ โดยการ Upload file ที่จัดทำไว้ แล้วทำการทดสอบการใช้งานของบทเรียน โดยการทดลองเข้าดูเนื้อหาหลายๆ ครั้งเพื่อให้เกิดความมั่นใจมากขึ้นว่าบทเรียนมีความสมบูรณ์พร้อมแล้ว
8. จัดการเรียนรู้ ตามขั้นตอน ดังนี้
8.1 ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
8.2 นำเสนอบทเรียน โดยนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ คำอธิบายรายวิชา ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง วิธีการเรียน เงื่อนไขการเรียน การนัดหมาย การส่งงาน ช่วงเวลาที่มีการทดสอบ ฯลฯ เพื่อให้ผู้เรียนได้รู้จักและเข้าใจถึงวิธีการใช้บทเรียน ทำให้การเข้าใช้บทเรียนมีประสิทธิภาพในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนมากขึ้น จากนั้นให้ผู้เรียนสมัครเข้าเรียน
8.3 ติดตามการเรียนและกระตุ้นให้นักเรียนที่ขาดการศึกษาบางกิจกรรมได้เข้าไปศึกษาและทำกิจกรรมตามที่กำหนด
8.4 หลังจากเรียนเสร็จ ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
9. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้ t-test แบบ One group
Pretest Posttest Design
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทดลองครั้งนี้ คือนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2561 ของโรงเรียนเทศบาล 2 ชำนาญอนุเคราะห์สำนักการศึกษาสังกัดเทศบาลเมืองหนองคาย จำนวน 30 คน
เครื่องมือที่ใช้วัดและประเมินประสิทธิภาพของสื่อ
ก. เครื่องมือที่ใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน มีดังนี้ สื่อ E-learning ที่ผลิตขึ้นจำนวน 7
เรื่อง พร้อมเนื้อหา ได้แก่
1. ข้อมูล ประโยชน์ของข้อมมูล
2. การรับข้อมูล
3. การประมวลผลข้อมูล
4. การแสดงผลข้อมูล
5. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
6. หน้าที่การทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
7. การนำเสนอข้อมูล โปรแกรม Power Point
ข. เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล
1. แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน แบบคู่ขนานชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ
2. แบบวัดความคิดเห็นต่อสื่อ E-learning จำนวน 15 ข้อ
ผลสัมฤทธิ์การเรียนกับเกณฑ์ที่กำหนดใช้ t-test แบบ One group Pretest Posttest Design
จากการใช้สื่อ E-learning ของนักเรียนช่วงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 2 ชำนาญอนุเคราะห์ เทศบาลเมืองหนองคาย ปีการศึกษา 2561 ภาคเรียนที่ 1 ปรากฏผลดังนี้
1. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของสื่อ E-learning ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 ผลปรากฏว่าได้ประสิทธิภาพของทุกเรื่อง สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการใช้สื่อ E-learning พบว่าก่อนเรียนมีค่าคะแนนเฉลี่ย
14.14 หลังเรียนมีค่าคะแนนเฉลี่ย 23.18
3. เมื่อเปรียบเทียบผลการจัดการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน แล้วทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของคะแนนผลการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนพบว่า หลังเรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นก็คือ นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น