การประเมินผลการดำเนินโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อเสริมสร้างโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (นำร่อง) โรงเรียนเทศบาลพนา(สามัคคีวิทยา) ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผลด้านความยั่งยืนด้านการถ่ายโยงความรู้ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อเสริมสร้างโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (นำร่อง) โรงเรียนเทศบาลพนา(สามัคคีวิทยา) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินผลครั้งนี้ใช้วิธีการเปิดตารางของ เครซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) ประกอบด้วย ครูโรงเรียนเทศบาลพนา(สามัคคีวิทยา) จำนวน 27 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 144 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 144 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ เป็นแบบสอบถามจำนวน 3 ฉบับ วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยค่าร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อเสริมสร้างโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (นำร่อง) โรงเรียนเทศบาลพนา(สามัคคีวิทยา) ในภาพรวม ทั้ง 8 ด้าน
1) ด้านบริบท พบว่า ครู มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อเสริมสร้างโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (นำร่อง) โรงเรียนเทศบาลพนา (สามัคคีวิทยา) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
2) ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ครู มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อเสริมสร้างโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (นำร่อง) โรงเรียนเทศบาลพนา(สามัคคีวิทยา) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
3) ด้านกระบวนการ พบว่า ครู มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อเสริมสร้างโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (นำร่อง) โรงเรียนเทศบาลพนา(สามัคคีวิทยา) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
4) ด้านผลผลิต พบว่า ครู ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อเสริมสร้างโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (นำร่อง) โรงเรียนเทศบาลพนา(สามัคคีวิทยา) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
5) ด้านผลกระทบ พบว่า ครู ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อเสริมสร้างโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (นำร่อง) โรงเรียนเทศบาลพนา(สามัคคีวิทยา) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
6) ด้านประสิทธิผล พบว่า ครู มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อเสริมสร้างโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (นำร่อง) โรงเรียนเทศบาลพนา(สามัคคีวิทยา) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
7) ด้านความยั่งยืน พบว่า ครู มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อเสริมสร้างโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (นำร่อง) โรงเรียนเทศบาลพนา(สามัคคีวิทยา) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
8) ด้านการถ่ายโยงความรู้ พบว่า ครู มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อเสริมสร้างโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (นำร่อง) โรงเรียนเทศบาลพนา(สามัคคีวิทยา) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
2. แนวทางการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อเสริมสร้างโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (นำร่อง) โรงเรียนเทศบาลพนา(สามัคคีวิทยา) พบว่าควรเร่งส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน มีการขยายผลลงสู่ชุมชน โดยมีโรงเรียนเป็นต้นแบบของการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม