บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโดยบูรณาการการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนนิคมสร้างตนเองรัตภูมิ ปีการศึกษา 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ ด้านกระบวนการของโครงการ และด้านผลผลิตของโครงการ ได้แก่ คุณลักษณะด้านนิสัยรักการอ่านของนักเรียน อัตราการใช้ห้องสมุดของนักเรียน ความสามารถของครูในการจัดกิจกรรมบูรณาการการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการอ่านของนักเรียน สภาพบรรยากาศ สิ่งแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้เอื้อต่อการอ่านของนักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา และชุมชน และความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อผลการดำเนินโครงการ ประเมินโดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model)
กลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีทั้งสิ้น 274 คน ประกอบด้วย ครู จำนวน 18 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 13 คน ผู้ปกครอง จำนวน 105 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 จำนวน 138 คน เครื่องมือที่ใช้ประเมินโครงการ ประกอบด้วย แบบสอบถาม จำนวน 8 ฉบับ แบบบันทึก จำนวน 1 ฉบับ รวม 9 ฉบับ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS (Package for the Social Sciences) for windows v.10 ผลการประเมินและข้อเสนอแนะสรุปได้ ดังนี้
ผลการประเมินโครงการ
ผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโดยบูรณาการการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนนิคมสร้างตนเองรัตภูมิ ปีการศึกษา 2561 สรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ โดยมีการประเมิน 4 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับมาก 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
1.1 ความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
1.2 ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมาก
1.3 ความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก
1.4 ความสอดคล้องกับนโยบาย พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ โดยมีการประเมิน จำนวน 4 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับมาก 2 ตัวชี้วัด มีดังนี้
2.1 ความพร้อมของบุคลากร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
2.2 ความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก
2.3 ความเพียงพอของงบประมาณ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก
2.4 ความเหมาะสมของแหล่งเรียนรู้ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ โดยมีการประเมิน 4 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับมาก 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
3.1 การเตรียมการจัดกิจกรรม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
3.2 การดำเนินกิจกรรม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
3.3 การประเมินผล พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก
3.4 การนำผลมาปรับปรุงพัฒนา พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ โดยมีการประเมิน 6 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด ทั้ง 6 ตัวชี้วัด ดังนี้
4.1 คุณลักษณะด้านนิสัยรักการอ่านของนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก
4.2 อัตราการใช้ห้องสมุดของนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
4.3 ความสามารถของครูในการจัดกิจกรรมบูรณาการการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการอ่านของนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
4.4 สภาพบรรยากาศ สิ่งแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้เอื้อต่อการอ่าน ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก
4.5 ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อผลการดำเนินงาน
4.5.1 ความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน ด้านผลผลิตของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
4.5.2 ความพึงพอใจของนักเรียน ด้านผลผลิตของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
ผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโดยบูรณาการการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนนิคมสร้างตนเองรัตภูมิ ปีการศึกษา 2561 ในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้ ประเด็นการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ประเด็น คือ สภาพแวดล้อมของโครงการ ปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ กระบวนการของโครงการ และผลผลิตของโครงการ สำหรับตัวชี้วัดของประเมินทั้ง 22 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด
ข้อเสนอแนะ
1. ด้านสภาพแวดล้อมในการดำเนินโครงการ ในด้านบริบทสถานศึกษาควรมีการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้สามารถศึกษาค้นคว้าได้ตามความต้องการอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้นในการดำเนินโครงการ ควรมีการขอสนับสนุนสื่อวัสดุอุปกรณ์มาสนับสนุนการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ให้เพียงพอกับจำนวนของนักเรียนและจัดกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจในการดำเนินโครงการกับผู้เกี่ยวข้อง
3. ด้านกระบวนการดำเนินโครงการ ควรประกาศเป็นนโยบายและนำไปสู่การวัดและประเมินผลนักเรียน รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการวัด ประเมินผล เพื่อร่วมกันแก้ปัญหานักเรียนหรือบุตรหลานได้อย่างมีคุณภาพ
4. ด้านผลผลิตในการดำเนินโครงการเกี่ยวกับการสร้างเสริมนิสัยรักการอ่านของผู้เรียน และควรจัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหา การตีความ การคิดสร้างสรรค์ อย่างเป็นระบบและหลากหลาย