ชื่อผลงาน สมองเป็นฐานสื่อสารอ่านคล่อง
ชื่อเจ้าของผลงาน นางลัดดาวัลย์ แย้มทอง ครูโรงเรียนอนุบาลลตรัง ผู้บริหาร นายสนทยา ภักดีวานิช ผอู้ านวยการโรงเรียนอนุบาลตรัง
๑. แนวคิด / ความเป็นมา จากผลการสอบการประเมินการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนอนุบาลตรัง พบว่า นักเรียนส่วนหนึ่งมีปัญหาการอ่านไม่คล่อง ปัญหาดังกล่าวนอกจากส่งผลกระทบต่อการเรียนวิชาอื่น ๆ แล้ว ยังส่งผลกระทบต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ผู้สอนจึงได้น าแนวคิดและรูปแบบการสอนโดยใช้เทคนิค การเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานมาประยุกต์ใช้ ภายใต้ชื่อกิจกรรม สมองเป็นฐานสื่อสารอ่านคล่อง โดยมี ขั้นตอนการสอนตามกระบวนการเรียนรู้แบบ BBL จัดกิจกรรมช่วงเวลาเช้าก่อนเข้าแถว และช่วงหลังเลิกเรียน เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๕ คน ให้สามารถอ่านคล่อง และมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษาไทยได้ดียิ่งขึ้น
๒. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาความสามารถในด้านการอ่านของนักเรียนที่มีปัญหาด้านการอ่าน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนอนุบาลตรัง จำนวน ๕ คน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
เป้าหมาย
๑. นักเรียนที่มีปัญหาด้านการอ่านระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ร้อยละ ๙๕ ได้รับการพัฒนาและ สามารถอ่านคล่อง ตามรูปแบบการสอนโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน
๒. โรงเรียน ผู้ปกครอง/ชุมชน มีความพึงพอใจต่อผลการพัฒนาความสามารถในการอ่านของ นักเรียนตามรูปแบบการสอนโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน
๓. กระบวนการและขั้นตอนการดำเนินงาน
๓.๑ กิจกรรม/วิธีการ/ขั้นตอนที่สำคัญ
- คัดกรองนักเรียนที่มีปัญหาด้านการอ่าน -วินิจฉัยหาสาเหตุ - จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตาม -ประเมินผล -พัฒนา - รวบรวม สรุปผล -พัฒนา แก้ไข ปรับปรุงผล
๓.๒ กิจกรรมการดำเนินงานแก้ปัญหาและพัฒนาการอ่านของนักเรียน - ขั้นวางแผน -ขั้นดำเนินงาน -ขั้นติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล -ขั้นพัฒนา แก้ไข ปรับปรุง
๔. ผลการดำเนินงาน
๔.๑ ผลที่เกิดตามจุดประสงค์
นักเรียนมีความสามารถในการอ่านคล่อง สามารถทำแบบทดสอบหลังเรียนโดยใช้เทคนิค เรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานอยู่ในระดับดี
๔.๒ ประโยชน์ที่ได้รับ
๔.๒.๑ คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาด้านผู้เรียนมีคุณภาพสูงขึ้น ๔.๒.๒ เสริมสร้างความสามัคคี ความร่วมมือในหมู่คณะครู ผู้บริหาร และผู้ปกครอง
๔.๒.๓ โรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ดีขึ้น
๔.๒.๔ โรงเรียนเป็นที่ยอมรับของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาคุณภาพนักเรียนมากยิ่งขึ้น
๕. บทเรียนที่ได้รับ
๕.๑ การดำเนินงานที่เป็นระบบจะส่งผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียนที่ยั่งยืน ๕.๒ รูปแบบและกระบวนการสอนเป็นสิ่งส าคัญในการสร้างความสนใจแก่ผู้เรียน ๕.๓ ผู้ปกครองนับเป็นเครือข่ายการพัฒนาที่ส าคัญต่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียน
๖. ปัจจัยความสำเร็จ
๖.๑ ผู้บริหารโรงเรียนให้ความสำคัญและเอาใจใส่กับการดำเนินงาน
๖.๒ เวลาการดำเนินกิจกรรมมีเพียงพอ
๖.๓ บุคลกรทุกคนให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรม
๖.๔ นักเรียนมีความพร้อมในการร่วมกิจกรรมทุกครั้ง
๗. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ ๑. จัดนิทรรศการเผยแพร่แก่นักเรียน ครูในโรงเรียน ในงานเปิดโลกวิชาการของโรงเรียนอนุบาลตรัง ๒. ประชาสัมพันธ์ในเว็บไซต์
นคล่อง สามารถท าแบบทดสอบหลังเรียนโดยใช้เทคนิค เรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานอยู่ในระดับดี