ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระ
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้รายงาน นางรุ่งธิดา กันทา
ครูชำนาญการ โรงเรียนอนุบาลเวียงป่าเป้า
อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2
ปีการศึกษา2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง
การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์มาตรฐาน E1/E2 เท่ากับ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบ
ฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 27 คน โรงเรียนอนุบาลเวียงป่าเป้า อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ 1) แบบฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช จำนวน 7 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์
เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืชกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10 ข้อ
ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test
ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า
1. แบบฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยา- ศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 83.89/82.35 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
ที่กำหนดไว้คือ E1/E2 เท่ากับ 80/80
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 24.70 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.95 ก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.78 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.40
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับมากที่สุดโดยภาพรวม
มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.81 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.40