บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนทัศนศิลป์ด้วยกระบวนการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนทัศนศิลป์ด้วยกระบวนการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (3) ทดลองใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนทัศนศิลป์ด้วยกระบวนการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (4) ประเมินผลรูปแบบการจัดการเรียนการสอนทัศนศิลป์ด้วยกระบวนการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยมีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนทัศนศิลป์ ด้วยกระบวนการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยประกอบด้วย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองทุ่งสง 2 แห่ง จำนวน 15 คน และครูผู้สอนศิลปะในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองทุ่งสง 2 แห่ง จำนวน 8 คน 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนทัศนศิลป์ด้วยกระบวนการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญทางด้านหลักสูตรและการสอน การสอนศิลปะ (ทัศนศิลป์) หรือด้านการวิจัย จำนวน 5 ท่าน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนมัธยมเทศบาลวัดท่าแพ จำนวน 13 คน 3) ทดลองใช้และศึกษาการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนทัศนศิลป์ด้วยกระบวนการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยประกอบด้วย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2561 โรงเรียนมัธยมเทศบาลวัดท่าแพ จำนวน 1 ห้องเรียน เป็นนักเรียนทั้งหมด 20 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ทัศนศิลป์ด้วยกระบวนการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยประกอบด้วยครูผู้สอนศิลปะในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองทุ่งสง ทั้ง 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนกีฬาเทศบาลเมืองทุ่งสง และโรงเรียนมัธยมเทศบาลวัดท่าแพ จำนวน 8 คน
คำสำคัญ : รูปแบบการจัดการเรียนการสอนทัศนศิลป์ กระบวนการคิดสร้างสรรค์
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของผลงานทางวิชาการเพื่อให้มีหรือเลื่อนตำแหน่งครู วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ
ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนมัธยมเทศบาลวัดท่าแพ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ผลการวิจัยพบว่า
1.รูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการคิดสร้างสรรค์มีองค์ประกอบของรูปแบบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลตามรูปแบบการเรียนการสอน กระบวนการจัดการเรียนการสอนมี 5 ขั้นตอนที่เรียกว่า PDPE MODEL ขั้นที่ 1 . ขั้นเตรียมความพร้อม (Preparation) 2. ขั้นพัฒนาการคิด (Development thinking) 3. ขั้นปฏิบัติ (Practice) 4. ขั้นประเมิน (Evaluation)
2. ผลการตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนการสอน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่ารูปแบบการเรียนการสอนทัศนศิลป์ ด้วยกระบวนการคิดสร้างสรรค์ คู่มือการใช้ และแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอน มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน พบว่า นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการคิดสร้างสรรค์หลังการจัดการเรียนการสอนสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนการสอน และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนการสอน พบว่า ความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อการทดลองจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนทัศนศิลป์ด้วยกระบวนการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด