ชื่อเรื่อง ผลการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำและแต่งประโยค
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้รายงาน นางรุสมีนา นะโก๊ะ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ
โรงเรียนบ้านเจาะตาแม อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การรายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำและแต่งประโยคครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำและแต่งประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 = 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำและแต่งประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำและแต่งประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนบ้านเจาะตาแม อำเภอยะหา จังหวัดยะลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2 ซึ่งผู้รายงานดำเนินการเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ 1) แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำและแต่งประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 4 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำและแต่งประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่าของลิเคอร์ท 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำและแต่งประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.61/83.04 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ แสดงว่าแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำและแต่งประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ สามารถนำไปพัฒนาทักษะการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนได้
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำและแต่งประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อแบบฝึกทักษะการเขียน
สะกดคำและแต่งประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับพึงพอใจมากที่สุด