ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับหนังสืออ่านเพิ่มเติม
เรื่องความผันแปรของโลกใบน้อย เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้วิจัย นายชัชชัย ลีลาสินธุชัย ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
ปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 1/2559
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องความผันแปรของโลกใบน้อย เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1). พัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องความผันแปรของโลกใบน้อย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2). เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องความผันแปรของโลกใบน้อย และ(3). ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องความผันแปรของโลกใบน้อย ชุดนี้ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) สังกัดเทศบาลเมืองราชบุรี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ภาคเรียนที่ 1/2559 ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม (Cluster random sampling) จำนวน 1 ห้องเรียน 30 คน โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม (Sampling Unit) ระยะเวลาที่ใช้ 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง แบบแผนการวิจัย แบบ One Group Pretest Posttest Design
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1.แบบประเมินหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องความผันแปรของโลกใบน้อย ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 6 เล่ม 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและ หลังเรียน 3. แผนการจัดการเรียนรู้ และ4. แบบวัดความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องความผันแปรของโลกใบน้อย
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ(%)ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)การทดสอบสมมุติฐาน t-test dependentและการวิเคราะห์เนื้อหา(content Analysis)
ผลการศึกษาพบว่า
การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องความผันแปรของโลกใบน้อย มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 82.67/86.78
ผลการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า คะแนนหลังทดสอบสูงกว่าก่อนทดสอบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความคิดเห็นของนักเรียนทีมีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องความผันแปรของโลก ใบน้อย เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่าในภาพรวม มีความคิดเห็นในระดับมาก