บทคัดย่อ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ สาระภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนมีวัตถุประสงค์ดังนี้1) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ สาระภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ให้ผู้เรียนจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนผู้เรียนทั้งหมด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ตั้งแต่ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็มขึ้นไป 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ สาระภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์80 / 80 3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ สาระภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ สาระภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) แบบกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน(One Group Pretest Posttest Design) กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561โรงเรียนเลิงแฝกประชาบำรุง อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคามสังกัดกองการศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคามจำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ สาระภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 เรื่องย่อย 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 20 แผน 20 ชั่วโมง 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก 1 คำตอบ จำนวน 1 ฉบับ 50 ข้อ ซึ่งมีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.31ถึง 0.69และค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.25 ถึง 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ0.804) แบบสอบถามความพึงพอใจเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน10ข้อสถิติที่ใช้การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพ ผลการทดสอบก่อนและหลังเรียนและค่าความคงทนในการเรียนรู้ใช้ค่าเฉลี่ย( )ค่าร้อยละ(%)ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)และการทดสอบค่า t (Dependent t test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ สาระภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน พบว่า ผู้เรียนจำนวน 23 คน คะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผู้เรียนทั้งชั้นได้คะแนนเฉลี่ย 43.91 คะแนน จากคะแนนเต็ม 50 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 87.83มีผู้เรียนผ่านเกณฑ์ 23 คน ของจำนวนผู้เรียนทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 100.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ มีจำนวนผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนผู้เรียนทั้งหมดมีคะแนนร้อยละ 80 ขึ้นไป
2. ผลการหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ สาระภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์80 / 80พบว่า โดยภาพรวมทั้ง 5เล่ม มีประสิทธิภาพเท่ากับ85.51 / 87.83 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 80 / 80 จำแนกตามจำนวน 5เล่มมีประสิทธิภาพ ดังนี้ เล่มที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.30 / 86.09เล่มที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.81 / 86.52เล่มที่3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ85.36 / 84.78 เล่มที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ86.23 / 86.09 และเล่มที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ86.52 / 84.35 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 80 / 80 ทั้ง 5 เล่ม
3. ผลการหาค่าดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ สาระภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3พบว่าค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.8003แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.8003 คิดเป็นร้อยละ 80.03
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ สาระภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ครบทั้ง 5 เล่ม พบว่า เมื่อพิจารณาโดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด( =4.68 , S.D. = 0.46)
โดยสรุป การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ สาระภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนครั้งนี้ ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้สูงขึ้น เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ สาระภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นและผู้เรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด