ชื่อเรื่อง : รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านท่ายาง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่
ผู้ประเมิน : นายพิพัฒน์ หวันสู ผู้อำนวยการชำนาญการ
โรงเรียนบ้านท่ายาง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่
ปีที่ดำเนินงาน : 2561
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านท่ายาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ปีการศึกษา 2561 ในด้านต่อไปนี้ คือ ปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ (Context evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ประเมินกระบวนการดำเนินโครงการ (Process evaluation) และประเมินผลผลิตของโครงการ (Product evaluation) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา ปีการศึกษา 2561 จำนวน 63 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมินโครงการพบว่า
1. ปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ
การประเมินปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านท่ายาง ส่วนของความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ วัตถุประสงค์ของโครงการและความพร้อม และทรัพยากรในโรงเรียนบ้านท่ายาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.78)
2. กระบวนการดำเนินโครงการ
การประเมินกระบวนดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านท่ายาง ส่วนของกิจกรรมรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล กิจกรรมคัดกรองนักเรียน กิจกรรมส่งเสริมนักเรียน กิจกรรมป้องกันและช่วยเหลือและกิจกรรมส่งต่อนักเรียนในโรงเรียนบ้านท่ายาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษากระบี่ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.18)
3. ผลผลิตของโครงการ
การประเมินผลผลิตของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในส่วนคุณลักษณะของนักเรียนในโรงเรียนบ้านท่ายาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.38)
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะทั่วไป
ผู้บริหารควรได้ควรให้ความสำคัญและเป็นผู้นำในการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนรวมทั้งเข้ามามีส่วนร่วมและตรวจสอบกระบวนการดำเนินโครงการในแต่ละกิจกรรม รวมทั้งจัดให้มีการอบรมดูแลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อให้ความรู้และเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เกิดขึ้นให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
2. ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างละเอียดในแต่ละกิจกรรม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของโครงการ
2.2 ควรประเมินผลผลิตของโครงการในมิติเชิงปริมาณและคุณภาพเพื่อให้ได้ข้อมูลที่แสดงถึง ผลสำเร็จของโครงการ
2.3 ควรประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้รูปแบบการประเมินแบบอื่นๆ เช่น ใช้รูปแบบการประเมินของ สตัฟเฟิมบีม (Daneil L. Stuffiebeam) รูปแบบการประเมินของโฟรวัส (Malcomlm M.Provus) หรือรูปแบบของแบบจำลองการประเมินของสเตก (Stake)