ชื่อเรื่อง การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความ หน่วยการเรียนรู้ที่ 12
สนุกกับการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD
ผู้วิจัย นางสาวณัฐชานันท์ นิษฐ์ธีรวัต
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความ หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 สนุกกับการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความ หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 สนุกกับการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแผน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความ หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 สนุกกับการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านการอ่านจับใจความ หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 สนุกกับการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ผู้วิจัยนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 4 ขั้นตอน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเทศบาลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 25 คน จาก 1 ห้องเรียน โดยวิธีการเลือกแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 12 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านการอ่านจับใจความ เป็นแบบทดสอบ แบบเลือกตอบชนิด 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test Dependent Sample)
สรุปผลการวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความ หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 สนุกกับการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.42/87.00 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความ หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 สนุกกับการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.6849
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านการอ่านจับใจความ หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 สนุกกับการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.31)