การพัฒนานวัตกรรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย จำนวน 2 ข้อ ได้แก่ 1)เพื่อส่งเสริมทักษะขั้นพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ผ่านสื่อชุดกิจกรรมเกมหม้อห้อมสร้างสรรค์2) เปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์
ผ่านสื่อชุดกิจกรรมเกมหม้อห้อมสร้างสรรค์ ศึกษาข้อมูลกับประชากรของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบล ทุ่งโฮ้ง กล่าวคือกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มีจำนวน 19 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยกำหนดหน่วยเป็นห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ๑)แผนการจัดประสบการณ์ การพัฒนาทักษะขั้นพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้สื่อหม้อห้อมสร้างสรรค์ ๒)แบบประเมินความเหมาะสมของ แผนการจัดประสบการณ์ การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กสำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้สื่อหม้อห้อมสร้างสรรค์๓)แบบประเมินพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ (หลังการใช้สื่อชุดกิจกรรมเกมหม้อห้อมสร้างสรรค์) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ 1.สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้แก่ 1) IOC 2) ประสิทธิภาพของนวัตกรรม E13.สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์การวิจัย ได้แก่ T - test dependent ในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อน-หลังเรียน
สรุปผล
ผลการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยไทยแลนด์ 4.0 ที่ได้รับการจัดเสริมประสบการณ์
ผ่านสื่อชุดกิจกรรมเกมหม้อห้อมสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล
พบว่า มี ค่าเฉลี่ย(X) = 45.33 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D) = 0.577 ในภาพรวมค่าเฉลี่ยความเหมาะสมอยู่ในระดับ มากที่สุด และมี E1 = 80.5 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด ผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนกรายทักษะ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมแต่ละด้านมีค่าคะแนนความก้าวหน้าและค่าเฉลี่ยดังนี้ คือ ทักษะด้านการนับและทักษะด้านการจัดลำดับ คะแนนความก้าวหน้า มีค่าเฉลี่ย 3.95 คะแนน ทักษะด้านการจำแนก คะแนนความก้าวหน้า มีค่าเฉลี่ย 3.89และทักษะด้านการเปรียบเทียบ คะแนนความก้าวหน้า มีค่าเฉลี่ย 3.53 ตามลำดับรายทักษะและทักษะที่สามารถพัฒนาได้ดีที่สุด คือ ทักษะด้านการนับและการจัดลำดับซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยความก้าวหน้าสูงที่สุด พบว่าคะแนนการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ โดยผ่านสื่อชุดกิจกรรมเกมหม้อห้อมสร้างสรรค์แตกต่างกัน ซึ่งผลการประเมินคะแนนหลังการใช้สื่อชุดกิจกรรมเกมหม้อห้อมสร้างสรรค์สูงขึ้นกว่าก่อนการใช้สื่อชุดกิจกรรมเกมหม้อห้อมสร้างสรรค์
อภิปรายผล
แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีทักษะในการจัดหมวดหมู่ ทักษะการจำแนกเปรียบเทียบ ทักษะการเรียงลำดับ เป็นการจัดเรียงวัสดุ และการรู้ค่าจำนวน เป็นความสามารถในการนับ แสดงค่าจำนวน 1-10 การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง และการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของจำนวนหรือปริมาณ ในการเล่นของนักเรียนก็จะแสดงถึงความก้าวหน้าในการใช้หลักการและเหตุผลทางคณิตศาสตร์ นักเรียนจะกระตือรือร้นที่จะจัดกระทำและทดลองกับสิ่งรอบๆ ตัว ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของ จงรัก อ่วมมีเพียร (2547 : 87-94) ได้ศึกษาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสื่อผสม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสื่อผสม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชายหญิงชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2547 โรงเรียนวัดเกาะลอย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1 ได้มาคุยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 15 คน ผลการศึกษาพบว่า ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หลังการจัดกิจกรรมศิลปะสื่อผสม โดยรวม และการจำแนกรายด้านอยู่ในระดับดี และเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลองพบว่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
สรุปได้ว่าคณิตศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันที่สำคัญ ครูปฐมวัยควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ความคิด แก้ปัญหา และเรียนรู้ด้วยตัวเอง โดยจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมให้แก่เด็ก เด็กๆสามารถเรียนรู้ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์จากกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน และความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์นั้น สามารถจัดสอดแทรกหรือบูรณาการเข้ากับวิชาอื่น ๆ ที่บรรจุในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย การเรียนเกี่ยวกับตัวเลข รูปทรง ขนาด ลำดับ การจัดหมวดหมู่ และความสัมพันธ์ต่าง ๆ ถือว่าเป็นประสบการณ์ประจำวันของเด็กที่ช่วยสอนเด็กตามธรรมชาติอยู่แล้ว ดังนั้น การปลูกฝังให้เด็กมีความเข้าใจเกี่ยวกับความคิดรวบยอดและทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ จึงเป็นการปูพื้นฐานไปสู่ความเข้าใจด้านคณิตศาสตร์ต่อไปในอนาคต
ข้อเสนอแนะ
1) การวิจัย เรื่องใด ควรทำอย่างเป็นระบบและใช้เวลาอย่างถูกต้อง และควรนำผลการวิจัย ไปใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์กับนักเรียนให้มากที่สุด
2) ในการวิจัยครั้งต่อไปควรบูรณาการการเรียนรู้ทักษะอื่นเช้าไปด้วย เช่นทักษะภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาครบทุกรอบด้าน
3) การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ด้านการรู้ค่าจานวนของเด็กระดับชั้นอนุบาล 2 โดยการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ครูจะต้องให้เวลากับเด็กในการปรับตัว ในการทากิจกรรมร่วมกัน ซึ่งในช่วงระยะเวลาสัปดาห์แรกเมื่อเด็กหยิบจับสื่อมาเล่น ทาให้เด็กยังไม่มีความคุ้นเคยในการเล่นทักษะด้านการรู้ค่าจานวนของตัวเลขอีก ในขณะที่เด็กไม่อยากหยิบครูควรกระตุ้นเร้าความสนใจให้เด็กเกิดความมั่นใจในการทำกิจกรรม โดยให้เด็กลงมือใช้สื่อชุดกิจกรรมเกมหม้อห้อมสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง