รายงานการประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนเวียงป่าเป้าวิทยาคม อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงรายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ
1. เพื่อรายงานกระบวนการประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเวียงป่าเป้าวิทยาคม อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
2. เพื่อรายงานผลการประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเวียงป่าเป้าวิทยาคม อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นประชากรของโรงเรียนเวียงป่าเป้าวิทยาคม ปีการศึกษา 2561 ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหาร จำนวน 3 คน ครูผู้สอนจำนวน 65 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน รวมทั้งหมดจำนวน 81 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้เป็นแบบสอบถามการประเมินโครงการมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) มีจำนวน 4 ฉบับ ฉบับที่ 1 สอบถามเกี่ยวกับการประเมินด้านบริบทของโครงการจำนวน 10 ข้อ ฉบับที่ 2 สอบถามเกี่ยวกับการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ จำนวน 10 ข้อ ฉบับที่ 3 สอบถามเกี่ยวกับการประเมิน ด้านกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ จำนวน 38 ข้อ ฉบับที่ 4 สอบถามเกี่ยวกับการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ จำนวน 63 ข้อ การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) และการศึกษาจากเอกสารหลักฐานเชิงประจักษ์
การวิเคราะห์ข้อมูลในด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการดำเนินงานและ ด้านผลผลิต โครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนเวียงป่าเป้าวิทยาคม อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงรายโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ การบรรยายเป็นความเรียง ซึ่งสามารถสรุปผลการประเมินดังต่อไปนี้
สรุปผลการประเมิน
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียน เวียงป่าเป้าวิทยาคม อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยแต่ละรายการ พบว่าค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ โครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสร้างคุณภาพและประสิทธิภาพของการจัดการศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนเวียงป่าเป้าวิทยาคม อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยแต่ละรายการ พบว่าค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ บุคลากรในโรงเรียนมีความตระหนัก มีความสนใจมีความรู้ความสามารถในการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินกระบวนการของโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนเวียงป่าเป้าวิทยาคม อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยแต่ละด้าน พบว่าค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การพัฒนาปรับปรุง (Action) อยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียน เวียงป่าเป้าวิทยาคม อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยแต่ละด้าน พบว่าค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด
5. แนวทางในการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเวียงป่าเป้าวิทยาคมจากการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ได้แก่ ด้านบริบทควรพัฒนา เรื่องการประสานงานระหว่างบุคลากร เพื่อเกิดความร่วมมือในการดำเนินโครงการโรงเรียนควรจัดระบบข้อมูลสารสนเทศ เพื่อการวางแผนการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนอย่างเป็นระบบและควรให้ตัวแทนผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน คณะกรรมการสมาคมผู้ปกครองและครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงานโครงการให้มากยิ่งขึ้น ด้านปัจจัยเบื้องต้นโรงเรียนควรสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการให้เพียงพอและควรจัดให้มีวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการให้เหมาะสมด้านกระบวนการดำเนินงาน ควรมีการประชุมวางแผนและติดตามงานเป็นระยะๆอย่างต่อเนื่องและด้านผลผลิตโรงเรียน ควรมีการประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญภายนอกหรือผู้ทรงคุณวุฒิจากต้นสังกัด เพื่อให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยเฉพาะเรื่องกระบวนการดำเนินงานประกันคุณภาพให้มีความชัดเจน ควรจัดให้มีการศึกษาดูงาน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จทั้งภายในจังหวัดและต่างจังหวัด เพื่อนำข้อมูลที่ได้เหล่านี้มาเป็นแนวทางในการปรับปรุง พัฒนา ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานมากยิ่งขึ้น
6. ผลการศึกษาจากเอกสารหลักฐานเชิงประจักษ์ของโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนเวียงป่าเป้าวิทยาคม อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ด้านบริบทมีการวิเคราะห์สภาพและปัญหาของโรงเรียน การประชุมวางแผนการดำเนินงาน วางทิศทางการพัฒนา สร้างความเข้าใจร่วมกันและกำหนดเป็นนโยบายโรงเรียนเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา การจัดทำโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ซึ่งวัตถุประสงค์สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมโดยการมีส่วนร่วมของฝ่ายบริหาร คณะกรรมการดำเนินงานและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ด้านปัจจัยเบื้องต้นโรงเรียนมีการประชุมวางแผนการดำเนินงานตามโครงการร่วมกับคณะกรรมการดำเนินงาน หัวหน้ากลุ่มงาน คณะครูและผู้ที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับด้านงบประมาณ ด้านอาคารสถานที่วัสดุอุปกรณ์ต่างๆการสนับสนุนของฝ่ายบริหารและผู้ปกครองในเขตบริการของโรงเรียนสามารถนำไปสู่การปฏิบัติที่ชัดเจน ด้านกระบวนการดำเนินงานโรงเรียนมีการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานคณะครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดมาตรการและแนวทางการปฏิบัติงาน การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา การจัดทำมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา การจัดทำระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา การดำเนินงานระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการนิเทศ ติดตามประเมินผล ด้านผลผลิตโรงเรียนมีการวางแผนการดำเนินงานเป็นขั้นตอนด้วยการทำงานเป็นทีม การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งฝ่ายบริหาร คณะกรรมการดำเนินงาน คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการจัดระบบบริหารและสารสนเทศ การพัฒนามาตรฐานการศึกษา การจัดทำแผนและดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา การตรวจสอบและการทบทวนคุณภาพการศึกษา การประเมินคุณภาพการศึกษาการรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี การผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษา จึงทำให้ผลผลิตของโครงการบรรลุตามจุดมุ่งหมายของโครงการ ซึ่งทั้ง 4 ด้านมีหลักฐานเชิงประจักษ์ เช่น โครงสร้างการบริหารงานของโรงเรียน แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี คำสั่งโรงเรียน มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา บันทึกการประชุมต่างๆโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษารายงานผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปี บันทึกการนิเทศ กำกับ ติดตามและรูปภาพกิจกรรม