ชื่อเรื่อง การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดแก้ปัญหา เรื่อง การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้ศึกษา นายสุติพงษ์ อมูลราช
ปีที่ศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดแก้ปัญหา เรื่อง การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยก่อนการทดลอง (Pre-Experimental Design) แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังเรียน (One group pretest posttest design) โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดแก้ปัญหา เรื่อง การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดแก้ปัญหา เรื่อง การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดแก้ปัญหา เรื่อง การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อศึกษาทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดแก้ปัญหา เรื่อง การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดแก้ปัญหา เรื่อง การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/8 โรงเรียนกัลยาณวัตร จังหวัดขอนแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 50 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดแก้ปัญหา เรื่อง การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น จำนวน 9 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น เป็นข้อสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบวัดการคิดแก้ปัญหา โดยอยู่บนพื้นฐานการคิดแก้ปัญหาของ Polya ประกอบด้วย 4 ขั้น คือ ทำความเข้าใจปัญหา การคิดวางแผนแก้ปัญหา การดำเนินตามแผน และ การตรวจสอบผล 5) แบบประเมินความพึงพอใจของ นักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดแก้ปัญหา เรื่อง การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 18 ข้อ มีลักษณะเป็นแบบประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ
ผลการศึกษา พบว่า
1.หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดแก้ปัญหา เรื่อง การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 83.48/81.87 แสดงว่าคะแนนจากใบงานและแบบทดสอบหลังเรียนท้ายหน่วยการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 83.48 และคะแนนจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 81.87 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดแก้ปัญหา เรื่อง การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7207 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนเพิ่มขึ้น 0.7207 คิดเป็นร้อยละ72.07
3.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดแก้ปัญหา เรื่อง การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4.นักเรียนที่เรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดแก้ปัญหา เรื่อง การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนที่ได้จากการทำแบบวัดการคิดแก้ปัญหา จำนวน 50 คน โดยคะแนนเต็มจากการทดสอบ 20 คะแนน มีนักเรียน 39 คน ได้คะแนนตั้งแต่ 14 คะแนนขึ้นไป โดยคิดเป็นร้อยละ 78 ของนักเรียนทั้งหมด มีค่าคะแนนเฉลี่ยคือ 15.08 คิดเป็นร้อยละ 75.40 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.52 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ มีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป
5.นักเรียนที่เรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดแก้ปัญหา เรื่อง การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย คือ 4.63 และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คือ 0.63