ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรม
เกมการศึกษา จากเศษวัสดุเหลือใช้และเศษวัสดุจากธรรมชาติ
ผู้รายงาน นางรัชนี บุญเรือง
โรงเรียน โรงเรียนอนุบาลประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา จากเศษวัสดุเหลือใช้และเศษวัสดุจากธรรมชาติ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมเกมการศึกษา จากเศษวัสดุเหลือใช้และเศษวัสดุจากธรรมชาติ สำหรับเตรียมความพร้อมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) เปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์กิจกรรมเกมการศึกษา จากเศษวัสดุเหลือใช้และเศษวัสดุจากธรรมชาติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/6 ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนอนุบาลประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำนวน 36 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา จากเศษวัสดุเหลือใช้และเศษวัสดุจากธรรมชาติ เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมเกมการศึกษา จากเศษวัสดุเหลือใช้และเศษวัสดุจากธรรมชาติ เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 36 แผน และแบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test แบบ Dependent Samples
ผลการวิจัยพบว่า
1. แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมเกมการศึกษา จากเศษวัสดุเหลือใช้และเศษวัสดุจากธรรมชาติ เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 96.37/90.97 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
2. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา จากเศษวัสดุเหลือใช้และเศษวัสดุจากธรรมชาติ มี
คะแนนเฉลี่ยหลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05