ชื่อเรื่องการประเมิน การประเมินโครงการเสริมสร้างทักษะชีวิต คุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนวัดทอง(สามัคคยานุสรณ์) ปีการศึกษา 2561
ชื่อผู้ประเมิน นายสุทธิพงษ์ บุญประดับวงศ์
ปีที่ประเมิน พุทธศักราช 2561
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการเสริมสร้างทักษะชีวิต คุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนวัดทอง(สามัคคยานุสรณ์) ปีการศึกษา 2561 มีวัตถุประสงค์การประเมิน เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อม ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการและผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม ประชากรประกอบด้วย 1. นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 จำนวน 46 คน 2. ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 จำนวน 46 คน 3. ครูผู้สอนนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 จำนวน 5 คน 4. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน รวมจำนวน 106 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามด้านสภาวะแวดล้อม เพื่อทราบเกี่ยวกับความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ สภาพปัจจุบัน ความต้องการจำเป็น ความเป็นประโยชน์และโอกาสการได้รับการสนับสนุนในการจัดทำโครงการ ฉบับที่ 2 แบบสอบถามด้านปัจจัยเบื้องต้น เพื่อทราบระดับความเหมาะสมเกี่ยวกับความพร้อมความเพียงพอของบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ ระยะเวลา ในการดำเนินโครงการ การบริหารจัดการ และผู้สนับสนุนโครงการ ฉบับที่ 3 แบบสอบถามด้านกระบวนการ เพื่อทราบระดับความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินการตามโครงการเกี่ยวกับการวางแผน การดำเนินงาน การติดตาม การประเมินผล และการนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาโครงการ ฉบับที่ 4 แบบสอบถามด้านผลผลิตเกี่ยวกับพฤติกรรมทักษะชีวิต คุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามโครงการ และฉบับที่ 5 แบบสอบถามด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยผลการประเมินมีดังนี้
1. ผลการประเมินความเหมาะสมด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ ตามความคิดเห็น ของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.58, σ = 0.58) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความเป็นไปได้ ในการปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.71, σ = 0.53) รองลงมา คือ ด้านความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.61, σ = 0.57) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านโอกาสการได้รับสนับสนุน อยู่ในระดับมาก (μ = 4.43, σ = 0.65) หลังการดำเนินโครงการทั้งโดยภาพรวมและรายข้อ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
2. ผลการประเมินความเหมาะสมด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (μ = 4.40, σ = 0.57) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านผู้สนับสนุนโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.60, σ = 0.50) รองลงมา คือ ด้านระยะเวลาในการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.54, σ = 0.58) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านวัสดุอุปกรณ์ อยู่ในระดับมาก (μ = 4.14, σ = 0.59) หลังการดำเนินโครงการทั้งโดยภาพรวมและรายข้อ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
3. ผลการประเมินความเหมาะสมด้านกระบวนการของโครงการ ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (μ = 4.38, σ = 0.57) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวางแผนการดำเนินงาน อยู่ในระดับมาก (μ = 4.44, σ = 0.54) รองลงมา คือ ด้านการดำเนินงาน อยู่ในระดับมาก (μ = 4.37, σ = 0.60) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนา อยู่ในระดับมาก (μ = 4.29, σ = 0.55) หลังการดำเนินโครงการทั้งโดยภาพรวมและรายข้อ มีค่าเฉลี่ย สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
4. ผลการประเมินคุณภาพด้านผลผลิต เกี่ยวกับพฤติกรรมทักษะชีวิต คุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมมีค่าเฉลี่ยระดับคุณภาพอยู่ในระดับมาก (μ = 4.35, σ = 0.74) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านซื่อสัตย์ สุจริต อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.73, σ = 0.62) รองลงมา คือ ด้านมีวินัย อยู่ในระดับมาก (μ = 4.49, σ = 0.64) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านมุ่งมั่นในการทำงาน อยู่ในระดับมาก (μ = 3.99, σ = 0.88) หลังการดำเนินโครงการทั้งโดยภาพรวมและรายข้อ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
5. ผลการประเมินคุณภาพด้านผลผลิต เกี่ยวกับระดับความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (μ = 4.52, σ = 0.57) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อที่ 1 ผู้บริหารโรงเรียนให้ความสำคัญและสนับสนุนโครงการ อยู่ในระดับมาก (μ = 4.84, σ = 0.37) รองลงมา คือ ข้อที่ 10 นักเรียนได้รับการเสริมสร้างให้เป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์ สุจริต อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.83, σ = 0.38) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ข้อ 14 นักเรียนได้รับ การเสริมสร้างให้เป็นผู้ที่มีความมุ่งมั่นในการทำงาน อยู่ในระดับมาก (μ = 4.00, σ = 0.69) หลังการดำเนินโครงการทั้งโดยภาพรวมและรายข้อ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด