ชื่อผลงาน : รายงานการประเมินโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในให้เอื้อต่อการเรียนรู้โรงเรียนบ้านท่าเทศ
ผู้รายงาน : นางเสาวลักษณ์ พลพัง
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าเทศ อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1
ปีที่รายงาน : ปีการศึกษา 2561
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนบ้าน ท่าเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) เป็นกรอบแนวคิดในการประเมินเกี่ยวกับความสำเร็จของการดำเนินงาน ได้แก่ ผลสำเร็จของการดำเนินงานโครงการ ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อการดำเนินงานโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ ทั้งสิ้นจำนวน 69 คน ประกอบด้วย นักเรียนจำนวน 28 คน ครูจำนวน 6 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 28 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยยกเว้นผู้บริหารและผู้แทนครู จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ รวมทั้งสิ้น 5 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( , ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (, S.D.)
ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ
1.1 ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม ตามความคิดเห็นของครู พบว่าค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.52 , =0.50) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
1.2 ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.63 , S.D.=0.49) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ
2.1 ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของครู พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.52 , =0.50) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
2.2 ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.63 , S.D.=0.48) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ
3.1 ผลการประเมินด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของครู พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.55 , =0.50) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
3.2 ผลการประเมินด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.56 , S.D.=0.50) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ
4.1 ผลการประเมินความสำเร็จที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการ
4.1.1 ผลการประเมินความสำเร็จที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการ ตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.52 , S.D.=0.54) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.1.2 ผลการประเมินความสำเร็จที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการ ตามความคิดเห็นของครู พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.54 , =0.55) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.1.3 ผลการประเมินความสำเร็จที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการ ตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.55 , S.D.=0.55) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.1.4 ผลการประเมินความสำเร็จที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการ ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.66 , S.D.=0.53) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการ
4.2.1 ผลการประเมินความพึงพอใจที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการ ตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.63 , S.D.=0.55) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2.2 ผลการประเมินความพึงพอใจที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการ ตามความคิดเห็นของครู พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.62 , =0.50) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2.3 ผลการประเมินความพึงพอใจที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการ ตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.63 , S.D.=0.49) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2.4 ผลการประเมินความพึงพอใจที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการ ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.52 , =0.50) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. ควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา เพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในให้เอื้อต่อการเรียนรู้ เพราะจะทำให้รู้ทิศทางของการพัฒนาในแต่ละด้าน เกิดความคล่องตัวในการประสานงานกับทุกๆฝ่าย และจะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
2. ควรพัฒนาสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้นักเรียนได้ใช้แหล่งเรียนรู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มุ่งพัฒนาคุณภาพนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
3. ควรนำผลการประเมินไปใช้ เพื่อวางแผนการยกระดับคุณภาพทางการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ (Best Practice) ของสถานศึกษาต่อไป
ข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไป
1. ควรมีการประเมินโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ในครั้งต่อๆไป เพิ่มประเด็นและด้านของการประเมินให้มากขึ้น มีการพัฒนาสภาพสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น ให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมเพิ่มขึ้น มีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ให้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
2. ควรมีการประเมินโครงการต่างๆ ในระดับงานหรือกลุ่มงานย่อยของโรงเรียนทุกโครงการ โดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินอื่นที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของข้อมูลและสารสนเทศที่ต้องการคำตอบ
3. ควรศึกษางานวิจัยและการประเมินโครงการอื่นๆ นำมาประยุกต์ใช้ในครั้งต่อไป เพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้สามารถพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา