การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนวัดเทียนถวาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ที่กำลังเรียนอยู่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ในชั้นที่ทำการสอนจาก 3 ห้องเรียน จำนวน 30 คน ผู้ศึกษาดำเนินการทดลองด้วยตนเอง โดยทำการศึกษาเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 20 นาที รวมทั้งหมด 40 ครั้ง
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ 1. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 2.. แผนการจัดประสบการณ์การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 3. แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบค่าที t-test (Dependent Sample)
ผลการศึกษาปรากฏดังนี้
1. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ผลการพัฒนาประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/E2 จำนวน 5 ชุด ในภาพรวมมีค่าประสิทธิภาพของกระบวนการเท่ากับ 92.62/93.11
2. แผนการจัดประสบการณ์การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 แผนการจัดประสบการณ์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.93 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.71 ซึ่งมีความเหมาะสมมากที่สุด
3. คะแนนภายหลังการพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 สูงกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2แสดงว่าเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น เมื่อใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05