ชื่อวิจัย การพัฒนาชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มสาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนซับนกแก้ววิทยา
ผู้วิจัย นางยุพา นาลาด
ปีที่วิจัย 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนซับนกแก้ววิทยา
ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนซับนกแก้ววิทยา ที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความ
พึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนซับนกแก้ววิทยา ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Design) ใช้กลุ่มทดลอง
แบบกลุ่มเดียว มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One Group Pretest - Posttest Design)
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา
2560 โรงเรียนซับนกแก้ววิทยา ตำบลหนองน้ำใส อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว จำนวน 31 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ค23101 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 14 ชุด 2) คู่มือการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการแก้ปัญหา โดยใช้ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ค23101 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 3 เล่ม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จำนวน 15 ข้อ
การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์โดยการคำนวณหาประสิทธิภาพ (E1/E2)
ค่าร้อยละ (P) ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t - test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนซับนกแก้ววิทยา มีประสิทธิภาพ 86.90/84.84 ซึ่งถือว่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนซับนกแก้ววิทยา ที่ได้รับการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนซับนกแก้ววิทยา มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.57 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.52