ชื่อเรื่อง รายงานผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านบ่อไทยสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครสวรรค์ เขต 3
ผู้รายงาน นายเอกชัย ไชยประยา
โรงเรียน บ้านบ่อไทยสามัคคี
ปีการศึกษา 2560
จากการรายงานผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านบ่อไทยสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครสวรรค์ เขต 3 มีวัตถุประสงค์ดังนี้1) เพื่อประเมินด้านบริบทของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านบ่อไทยสามัคคี 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของ โรงเรียนบ้านบ่อไทยสามัคคี 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานตามโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านบ่อไทยสามัคคี 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านบ่อไทยสามัคคี 5) เพื่อประเมินด้านผลกระทบของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านบ่อไทยสามัคคี ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูผู้สอนจำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาจำนวน 9 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 36 คน ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 36 คนรวมทั้งสิ้น 87 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางประมาณขนาด กลุ่มตัวอย่างของ เครจซี่ แอนด์ มอแกน (Krejcie and Morgan) และใช้การสุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) โดยเฉลี่ยรวมนักเรียนทั้งหมด และผู้ปกครองทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามจำนวน 5 ฉบับ เป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ท (Likerts Rating Scale) ได้แก่ ฉบับที่ 1,2 แบบสอบถามก่อนการดำเนินงานตามระบบดูแล ช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านบ่อไทยสามัคคี สอบถามด้านบริบทและด้านปัจจัยนำเข้า ฉบับที่ 3 เป็นแบบสอบถามประเมินผลระหว่างดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านบ่อไทยสามัคคี สอบถามด้านกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ ฉบับที่ 4,5 เป็นแบบสอบถามประเมินผลหลังดำเนินงานตามโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านบ่อไทยสามัคคี สอบถามด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมินพบว่า
ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านบ่อไทยสามัคคีตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.48 , S.D. = 0.24) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านที่ 5 ด้านผลกระทบ (x̄ = 4.66 , S.D. = 0.13) เป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ด้านที่ 3 ด้านกระบวนการ (x̄ = 4.60 , S.D. = 0.11) ด้านที่ 4 ด้านผลผลิต (x̄ = 4.48 , S.D. = 0.08) ด้านที่ 2 ด้านปัจจัยนำเข้า (x̄ = 4.37 , S.D. = 0.12) และด้านที่ 1 ด้านบริบท (x̄ = 4.37 , S.D. = 0.08) ตามลำดับ
ปรากฏผลดังนี้
1. ด้านผลกระทบ ของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านบ่อไทยสามัคคีตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ด้านกระบวนการดำเนินงาน ตามโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน
บ้านบ่อไทยสามัคคี ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ด้านผลผลิต ของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านบ่อไทยสามัคคี ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ด้านปัจจัยนำเข้า ของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน บ้านบ่อไทยสามัคคี ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
5. ด้านบริบทต่อการดำเนินงานของ โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน
บ้านบ่อไทยสามัคคี ตามความเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาพบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน