บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านอุไร จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2561 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน ด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน ใช้แบบสอบถามที่ผู้รายงานสร้างขึ้น
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วยประชากรครู 7 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียน 38 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง 38 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถาม ที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และมีข้อคำถามปลายเปิด จำนวน 6 ฉบับ ทุกฉบับผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยมีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .88 - .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel 2013
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านอุไร จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2561 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมทั้ง 2 กลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67, S.D. = .53) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63, = .52) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านอุไร จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2561 ตามความคิดเห็น ของครู จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.33, = .50) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.64, = .49) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ การประเมิน รองลงมาได้แก่ ตัวชี้วัดการบริหารจัดการ ( = 4.57, = .51) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และตัวชี้วัดความเพียงพอของงบประมาณ และวัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.07, = .27) , ( = 4.07, = .47) อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามแนว หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านอุไร จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2561 ตามความคิดเห็น ของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมทั้ง 3 กลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 25 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.26, = .64) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 25 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียนและผู้ปกครอง มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เท่ากัน ( = 4.22, S.D. = .63) และ ( = 4.22, S.D. = .62) ตามลำดับ ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 25 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต จำแนกเป็น
4.1 คุณภาพการพัฒนาการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านอุไร จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2561 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัดค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.50, S.D. = .51) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม พบว่า กลุ่มนักเรียนและครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุดมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = .50) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่กลุ่มผู้ปกครอง มีคุณภาพยู่ในระดับมาก ( = 4.47,S.D. = .53) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 แสดงผลการประเมินความสามารถของนักเรียน ในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและเผยแพร่สู่ครอบครัวและชุมชน ตามความคิดเห็นของครู และผู้ปกครอง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.46, S.D. = .52) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณา เป็นรายกลุ่ม ผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครู มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.52, S.D. = .50) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนกลุ่มผู้ปกครองมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.47, = .53) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านอุไร จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2561 จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = .58) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.65, S.D. = .54) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา ได้แก่ กลุ่มนักเรียน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55, = .56) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.39, S.D. = .64) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
สรุปภาพรวมทั้ง 4 ด้าน ค่าน้ำหนัก 100% ผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. การดำเนินงานโครงการให้มีประสิทธิภาพสูงสุดโรงเรียนควรให้ชุมชนมีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรม และประสานการระดมทรัพยากรจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ
2. โรงเรียนควรส่งเสริมให้ครูบูรณาการ และสอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
3. การขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ควรมี การวางแผนการดำเนินการ การติดตาม ประเมินผล และนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ