ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 บรรยากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้รายงาน นางณัฐพร หินจำปา
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
สังกัด โรงเรียนบ้านตะเคียนราม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 บรรยากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/ 80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 บรรยากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 บรรยากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 บรรยากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านตะเคียนราม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 33 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้ t-test dependent ที่ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 0.89 ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 บรรยากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เท่ากับ 85.02/83.03
2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 บรรยากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เท่ากับ 0.6657 นั่นหมายความว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มสูงขึ้น 0.6657 หรือคิดเป็นร้อยละ 66.57
3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 บรรยากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 บรรยากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด