ชื่อรายงาน รายงานผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและการแก้สมการ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 6
ผู้รายงาน มลฤดี จันทร
สังกัด โรงเรียนบ้านสระบัวก่ำ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3
ปีที่ดำเนินการ ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
รายงานผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและการแก้สมการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 6 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและการแก้สมการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องสมการและการแก้สมการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 6 3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและการแก้สมการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและ การแก้สมการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 6 โรงเรียนบ้านสระบัวก่ำ สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 7 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและการแก้สมการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 6 จำนวน 10 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนที่ครอบคลุมจุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหาทั้ง 10 เล่ม ทั้งหมด 30 ข้อ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนที่ใช้ประเมินผลรายเล่ม จำนวน 100 ข้อ (เล่มละ 10 ข้อ) ทั้งหมดเป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ (Multiple Choices) 4 ตัวเลือก แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนเป็นข้อสอบชุดเดียวกันแต่สลับข้อ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาที่ 6 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและการแก้สมการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 6 มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพบทเรียน คือ ค่าความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (IOC) ค่าความยากง่าย (p) ค่าอำนาจจำแนก (r) ค่าความเชื่อมั่น (rtt) ค่าประสิทธิภาพของบทเรียน (E1 : E2) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยค่า t-test แบบ Dependent ค่าความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลของการศึกษา พบว่า
1. แบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและการแก้สมการ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 86.38/82.87
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการ
และการแก้สมการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05
3. ผลการวิเคราะห์หาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและการแก้สมการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 ข้อ พบว่า มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.7721 นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 77.21 และจากผลการวิเคราะห์หาดัชนีประสิทธิผล แบบฝึกทักษะทั้ง 10 เล่ม จำนวน 100 ข้อ พบว่ามีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.7873 นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 78.73
4. นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก สรุปผลการประเมินคะแนนค่าเฉลี่ยทุกด้านเท่ากับ 4.48 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.50 ( = 4.48, S.D. = 0.50)