ชื่อเรื่องการประเมิน : การประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
บ้านดงลาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3
ชื่อผู้ประเมิน : นายสมศักดิ์ ทองหลาบ
หน่วยงาน : โรงเรียนบ้านดงลาน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3
ปีที่ประเมิน : พ.ศ. 2561
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านดงลาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 โดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model ของ Stufflebeam จุดมุ่งหมายของการประเมิน (1) เพื่อประเมินความพร้อมของโครงการด้านบริบท (Context) และ ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) (2) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงาน (Process ) ของโครงการ (3) เพื่อประเมินผลลัพธ์และผลผลิต (Product) ของโครงการ ในการดำเนินของโครงการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านดงลาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 โดยเกณฑ์กำหนดในการผ่านการประเมินทุกด้านที่ X- ≥ 3.41
แหล่งข้อมูล ที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านดงลาน ปีการศึกษา 2561 ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
จำนวน 7 คน ครู จำนวน 6 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 6 จำนวน 27 คน
และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 6 จำนวน 27 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รวมผู้ให้ข้อมูล จำนวน 67 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามเพื่อประเมินความพร้อมของโครงการด้านบริบท (Context) และ ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น 0.97 ฉบับที่ 2 แบบสอบถามเพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงาน (Process ) ของโครงการ มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น 0.98 ฉบับที่ 3 แบบสอบถามเพื่อประเมินผลลัพธ์และผลผลิต (Product) ของโครงการ
มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินพบว่า
1. ความพร้อมของโครงการ ด้านบริบท (Context) และ ปัจจัยนำเข้า (Input)
การส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านดงลาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.36 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.36 แสดงว่าผลการประเมินความพร้อมของโครงการ ผ่านเกณฑ์กำหนด มาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับมาก ถึงมากที่สุด สำหรับข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ โครงการเกิดจากความต้องการของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และชุมชน ซึ่งโครงการมีความสอดคล้องกับสภาพบริบทของชุมชน และสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่
2. กระบวนการดำเนินงาน (Process) ของโครงการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านดงลาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.45 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.43 แสดงว่าผลการประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการ ผ่านเกณฑ์กำหนด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับมาก ถึงมากที่สุด สำหรับข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ การดำเนินงานเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในโครงการทุกกิจกรรม และเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด
3. ผลลัพธ์และผลผลิต (Product) ของโครงการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านดงลาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.40 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.33 แสดงว่าผลการประเมินผลลัพธ์และผลผลิตของโครงการ ผ่านเกณฑ์กำหนด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับมาก ถึงมากที่สุด สำหรับข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ผลการดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้