ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET)
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนบ้านดินก้อง ปีการศึกษา 2560
ผู้ประเมิน นางสาวสมทรง นาคประเสริฐ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดินก้อง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2
ปีที่ประเมิน 2560
_____________________________________________________________
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินการดำเนินการตามแผน การนิเทศ การสอนและคุณลักษณะของครู ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) ของกลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก 4 กลุ่มสาระ และความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง กลุ่มประชากรคือ นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 4 คน ครูผู้สอน 4 คน ผู้ปกครองของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามจำนวน 10 ฉบับและ แบบบันทึกจำนวน 1 ฉบับ รวม 11 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการหาความสอดคล้องเครื่องมือใช้สูตร IOC และใช้แอลฟา หาความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม
ผลการประเมิน
1. ผลการประเมินการดำเนินการตามแผน พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกตัวชี้วัด ดังนี้
1.1 การปรับปรุงหลักสูตร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับ มาก
1.2 การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับ มากที่สุด
2. ผลการประเมินการนิเทศ พบว่ามีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด ดังนี้
2.1 การนิเทศการสอน พบว่า ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับ มากที่สุด
2.2 การปรับปรุงการสอน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับ มาก
3. ผลการประเมินการสอนและคุณลักษณะของครู พบว่ามีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัด ดังนี้
3.1 การจัดกิจกรรมการสอนปกติ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
3.2 การจัดกิจกรรมการสอนเสริม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด
3.3 คุณลักษณะของครู พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับ มาก
4. ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) พบว่ามีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมิน 4 ตัวชี้วัด และไมผ่านเกณฑ์ 1 ตัวชี้วัดดังนี้
4.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด
4.3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ พบว่า ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด
4.5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) เฉลี่ยรวมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด
5. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้ง 3 ตัวชี้วัด ดังนี้
5.1 ความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด
5.2 ความพึงพอใจของผู้ปกครอง พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด
5.3 ความพึงพอใจของครู พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับ มากที่สุด
ผลการประเมินโครงการในภาพรวมพบว่า ผลการประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET ) ด้านการดำเนินการตามแผน การนิเทศ การสอนและคุณลักษณะของครู และความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด 6 ตัวชี้วัด และผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก 4 ตัวชี้วัด ส่วนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับมากที่สุด จำนวน 4 ตัวชี้วัด และไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน จำนวน 1 ตัวชี้วัด
ข้อเสนอแนะ
จากผลการประเมินพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน จึงควรดำเนินการพัฒนาและส่งเสริมให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น โดยการ วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับ การวิเคราะห์ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) ที่ผ่านมา เกี่ยวกับคะแนนเฉลี่ยผลการสอบในระดับมาตรฐาน สาระการเรียนรู้ วิเคราะห์เกี่ยวกับความพร้อมความเพียงพอของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ การจัดสภาพห้องเรียน ให้มีความพร้อมด้านสื่อวัสดุอุปกรณ์ในการจัดการเรียนรู้ บรรยากาศในห้องเรียนให้มีบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้ สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน ปัญหา ในการเรียนรู้ของนักเรียน อย่างต่อเนื่อง และควรมีการจัดกลุ่มผู้เรียนตามความสามารถความถนัด ความบกพร่องเพื่อจัดกิจกรรมเสริมทั้งเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ความรู้ความสามารถในเนื้อหาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่น ค่ายวิทยาศาสตร์ กิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์ กิจกรรมการส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ DLTV อย่างต่อเนื่อง