ชื่อเรื่อง : รายงานผลการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียน
บ้านแก่นวิทยา อำเภอเชียงของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6
ชื่อผู้วิจัย : อินทนง จันตา
ปีการศึกษาที่ทำการวิจัย : 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process evaluation) และด้านผลผลิต (Product evaluation) ของโครงการเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านแก่นวิทยา ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 9 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 132 คน ครูผู้สอน จำนวน 9 คน โรงเรียนบ้านแก่นวิทยา อำเภอเชียงของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 จำนวน 7 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 99 คน ครูผู้สอนจำนวน 7 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Pupursive Sampling) ในปีการศึกษา 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านแก่นวิทยา อำเภอเชียงของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 วิธีดำเนินการ คือ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนของโครงการทุกขั้นตอน แล้วประเมินผลการดำเนินการและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ โดยใช้สถิติ ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย X-bar และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ตามรูปแบบ CIPP MODEL ของโรงเรียนบ้านแก่นวิทยา อำเภอเชียงของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 ทั้ง 4 ด้านโดยการตอบแบบสอบถามของครู โดยรวมมีผลการปฏิบัติในระดับ มากที่สุด (X-bar = 4.74, S = 0.34) โดยแยกเป็นผลการประเมินแต่ละด้านได้ ดังนี้
1.1 ด้านสภาวะแวดล้อม (Context evaluation) มีผลการประเมินในระดับมากที่สุด ( X-bar= 4.87, S = 0.22)
1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) มีผลการประเมินในระดับมากที่สุด ( X-bar= 4.61, S= 0.45)
1.3 ด้านกระบวนการ (Process evaluation) มีผลการประเมินในระดับมากที่สุด ( X-bar= 4.86, S = 0.23)
1.4 ด้านผลผลิต (Product evaluation) มีผลการประเมินในระดับมากที่สุด ( X-bar= 4.45, S= 0.45)
2. ผลการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ตามรูปแบบ CIPP MODEL ของโรงเรียนบ้านแก่นวิทยา อำเภอเชียงของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 ทั้ง 4 ด้านโดยการตอบแบบสอบถามของนักเรียน โดยรวมมีผลการปฏิบัติในระดับ มากที่สุด ( X-bar= 4.97,S = 0.13) โดยแยกเป็นผลการประเมินแต่ละด้านได้ ดังนี้
2.1 ด้านสภาวะแวดล้อม (Context evaluation) มีผลการประเมินในระดับมาก
ที่สุด ( X-bar= 4.99, S = 0.04)
2.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) มีผลการประเมินในระดับมากที่สุด
( X-bar= 4.95, S= 0.20)
2.3 ด้านกระบวนการ (Process evaluation) มีผลการประเมินในระดับมากที่สุด
( X-bar= 4.99, S = 0.07)
2.4 ด้านผลผลิต (Product evaluation) มีผลการประเมินในระดับมากที่สุด
( X-bar= 4.95, S= 0.19)