ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำรงชีวิตในสังคม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สังคมและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้ศึกษาค้นคว้า นางศรุตา รามโคตร ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
สังกัด โรงเรียนเทศบาล 7 รถไฟสงเคราะห์ เทศบาลนครอุดรธานี
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนรู้นับว่าเป็นภารกิจที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับครูผู้สอน ซึ่งจะสำเร็จและบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ครูผู้สอนต้องค้นหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงกิจกรรม การเรียนรู้ให้บรรลุสู่คุณภาพของผู้เรียนที่สูงขึ้น การจัดทำเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระ การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำรงชีวิตในสังคม หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สังคมและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จึงเป็นเครื่องมือ ในการค้นคว้าหาคำตอบในการพัฒนาการเรียนการสอนได้ ซึ่งการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระ ที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำรงชีวิตในสังคม หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สังคม และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 / 80 2) หาดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สังคมและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สังคมและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สังคมและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 7 รถไฟสงเคราะห์ ที่กำลังเรียนในปีการศึกษา 2561 จำนวน 90 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 7 รถไฟสงเคราะห์ ที่กำลังเรียนในปีการศึกษา 2561 ที่เรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือก แบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ มี 3 ชนิด ได้แก่ เอกสารประกอบการเรียน จำนวน 6 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนเกี่ยวกับเอกสารประกอบการเรียน จำนวน 33 ข้อ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่า t-test (Dependent samples)
ผลการศึกษาพบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สังคมและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ E1 / E2 เท่ากับ 86.03 / 85.22 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80 / 80
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สังคมและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เท่ากับ 0.6667 หมายความว่า เมื่อผู้เรียน ได้เรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สังคมและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้วผู้เรียน มีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.67
3. ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สังคมและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทั้ง 6 เล่มโดยรวม พบว่า คะแนนค่าเฉลี่ยหลังเรียน ( x-= 25.57) สูงกว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียน ( x-=16.70) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 แสดงให้เห็นว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สังคมและวัฒนธรรม ทั้ง 6 เล่มโดยรวมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียน สูงขึ้นจริง
4. ความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สังคมและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x- = 4.45) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการใช้ภาษา ด้านรูปภาพ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x-= 4.55 และ 4.54 ตามลำดับ) สำหรับ ด้านลักษณะรูปเล่ม ด้านคุณค่าและประโยชน์ที่จะได้รับ ด้านการพิมพ์ และด้านเนื้อเรื่อง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x- = 4.46, 4.44, 4.40 และ 4.35 ตามลำดับ)
ผลจากการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีระบบ เป็นขั้นตอน และเมื่อได้ผ่านกระบวนการกลั่นกรองจากผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีประสบการณ์แล้ว จะทำให้ครูผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สนองตอบความต้องการ ของผู้เรียนและบรรลุตามความมุ่งหมายของการจัดการศึกษาของชาติในที่สุด