ชื่อเรื่อง การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้ศึกษา นางศิณีนาถ ทองยา
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) กลุ่มสาระการเรียนรู้นาฏศิลป์ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียน 29 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้เวลาในการทดลอง 12 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษามี 3 ชนิด ได้แก่ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนก 0.23 ถึง 0.81 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.96 และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.71 ถึง 0.98 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีประสิทธิผล และ t test (Dependent Sampling)
ผลการศึกษาพบว่า
1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 82.70/82.84
2. นักเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.6655 แสดงว่านักเรียน มีความก้าวหน้าทางการเรียนสูงขึ้นร้อยละ 66.55
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนด้วยชุดการเรียน สาระนาฏศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
(e-book) สาระนาฏศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
โดยสรุป การจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ช่วยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีพัฒนาการทางการเรียนเพิ่มขึ้น ควรสนับสนุนให้มีการนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน จะทำให้นักเรียนมีความสุขสนุกสนานกับการเรียนรู้และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น