รายงานการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้ศึกษา : นางสาวจินตนา พลมา
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ระบบต่างๆ ในร่างกายมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 37 จังหวัดกระบี่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 34 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ จำนวน 7 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ หาค่าเฉลี่ย(Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการหาค่าที (t test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 85.87/84.54 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 75/75 โดยมีค่าประสิทธิภาพของกิจกรรมระหว่างเรียน (E1) เท่ากับ 85.87 และมีค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์ของการเรียน (E2) เท่ากับ 84.54
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 2 ทั้ง 7 เล่ม มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจที่มีต่อการใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (x- ) เท่ากับ 4.56 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.50