บทสรุปผู้บริหาร
การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านเหนือคลอง ปีการ ศึกษา 2561 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อม ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการดำเนินงาน และผลผลิตของโครงการ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน รวมจำนวน 224 คน กรอบการประเมินใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) เครื่องมือที่ใช้ประเมินคือ แบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 6 ฉบับประกอบด้วย แบบสอบถามประเมินสภาวะแวดล้อม ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการดำเนินงาน และผลผลิตของโครงการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
สรุปผลการประเมิน
1. ผลการประเมินสภาวะแวดล้อม สรุปได้ดังนี้
1.1 ผลการประเมินสภาวะแวดล้อมด้าน ความเหมาะสมและความสอดคล้องของวัตถุประสงค์โครงการ โดยภาพรวมพบว่า มีความเหมาะสมและความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดการประเมินพบว่า มีความเหมาะสมและความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุดทุกตัวชี้วัด เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินสรุปได้ว่า โดยภาพรวมและรายตัวชี้วัด ผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
1.2 ผลการประเมินสภาวะแวดล้อมด้านความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า โดยภาพรวมมีความต้องการจำเป็นของโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดการประเมินพบว่า มีความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับมากที่สุดทุกตัวชี้วัด เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินสรุปได้ว่า ผลการประเมินโดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ และผลการประเมินรายตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ทุกตัวชี้วัด
1.3 ผลการประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการโดยภาพรวมคือ ด้านความเหมาะสม ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ และความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า มีความเหมาะสม มีความสอดคล้อง และความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด การประเมินพบว่า วัตถุประสงค์โครงการมีความเหมาะสม มีความสอดคล้อง และความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับมากที่สุดทุกตัวชี้วัด เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินสรุปได้ว่า ผลการประเมินโดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ และผลการประเมินรายตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ทุกตัวชี้วัด
2. ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ พบว่า โดยภาพรวมปัจจัยเบื้องต้นของโครงการมีความเพียงพออยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้การประเมินพบว่า ตัวชี้วัดที่ 1 5 6 7 8 9 และ 10 มีความเพียงพออยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนตัวชี้วัดที่ 2 3 และ 4 มีความเพียงพออยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินสรุปได้ว่า ผลการประเมินโดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ และผลการประเมินรายตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ทุกตัวชี้วัด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ พบว่า โดยภาพรวมกระบวนการ ดำเนินงานมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้การประเมิน พบว่า ตัวชี้วัด ที่ 1 5 6 และ 8 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนตัวชี้วัดที่ 2 3 4 และ 7 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินสรุปได้ว่า ผลการประเมินโดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ และผลการประเมินรายตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ทุกตัวชี้วัด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต สรุปได้ดังนี้
4.1. ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ พบว่า โดยภาพรวมผลผลิตโครงการมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดการประเมินพบว่า ตัวชี้วัดที่ 1 2 3 6 และ 8 มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนตัวชี้วัดที่ 4 5 7 และ 9 มีคุณภาพ อยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมิน สรุปได้ว่า ผลการประเมินโดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ และผลการประเมินรายตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ทุกตัวชี้วัด
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ สรุปได้ดังนี้
4.1.1 ความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ของนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดการประเมิน พบว่า ตัวชี้วัดที่ 1 2 3 และ 5 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนตัวชี้วัดที่ 4 มีความ พึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินสรุปได้ว่า ผลการประเมินโดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ และผลการประเมินรายตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ทุกตัวชี้วัด
4.1.2 ความพึงพอใจที่มีต่อบรรยากาศในการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด การประเมินพบว่า ตัวชี้วัดที่ 1 4 5 และ 7 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนตัวชี้วัดที่ 2 3 และ 6 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินสรุปได้ว่า ผลการประเมินโดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ และผลการประเมินรายตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ทุกตัวชี้วัด
4.3 ผลการประเมินนิสัยรักการอ่านและการศึกษาค้นคว้าของนักเรียนโดยภาพรวมพบว่า นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านและการศึกษาค้นคว้าโดยปฏิบัติเป็นประจำร้อยละ 85.84 เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินสรุปได้ว่า นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านและการศึกษาค้นคว้าผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้คือ ร้อยละ 80
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะสำหรับนำผลการประเมินไปใช้
1.1 ผลการประเมิน พบว่า สภาพแวดล้อมด้านความเหมาะสม ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์โครงการและความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินชี้ให้เห็นว่า โรงเรียนมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดทำโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้กับนักเรียนอย่างต่อเนื่อง โดยจะต้องบรรจุไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณต่อไปเป็นโครงการต่อเนื่อง เพื่อสนองนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัดคือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานต่อไป
1.2 ผลการประเมิน พบว่า ปัจจัยเบื้องต้นที่สนับสนุนให้โครงการประสบความสำเร็จ บางปัจจัยมีความเพียงพอในอยู่ในระดับมาก ซึ่งอาจส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนมีคุณภาพน้อยลงตามสัดส่วนของปัจจัยสนับสนุนได้ ดังนั้นประเด็นที่ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้บริหารโรงเรียนบ้านเหนือคลองควรคำนึงเป็นพิเศษเกี่ยวกับการเพิ่มปัจจัยเบื้องต้นให้เพียงพอสำหรับการสนับสนุนโครงการก่อนดำเนินงานโครงการคือ ควรเพิ่มวัสดุอุปกรณ์และงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงานโครงการ ให้มีความเพียงพอเพิ่มขึ้นคือ อยู่ในระดับมากที่สุดต่อไป
1.3 ผลการประเมิน พบว่า โดยภาพรวมกระบวนการดำเนินงานโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ประเด็นที่ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้บริหารโรงเรียนควรคำนึงเป็นพิเศษ เกี่ยวกับการปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานให้เหมาะสมยิ่งขึ้นคือ การนิเทศการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง การตรวจสอบทบทวนคุณภาพการดำเนินงานระหว่างการดำเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง และควรนำผลการการตรวจสอบทบทวนคุณภาพไปนิเทศเพื่อปรับปรุงการดำเนินงาน โครงการเพื่อให้ผลผลิตและผลลัพธ์ของโครงการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด
1.4 ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า ผลการดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการที่กำหนดไว้มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินชี้ให้เห็นว่า กิจกรรมโครงการทั้ง 6 กิจกรรม เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านเพิ่มขึ้น ดังนั้นการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีครั้งต่อไปควรเพิ่มจำนวนกิจกรรมและความหลากหลายในรูปแบบของการจัดกิจกรรม ปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้กับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านเพิ่มขึ้น อาทิ ควรเพิ่มกิจกรรมตามข้อเสนอแนะของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ กิจกรรมค่ายรักการอ่าน กิจกรรมแข่งขันตั้งคำถามจากเรื่องที่อ่าน เป็นต้น
1.5 ผลการประเมินความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนโดยภาพรวมพบว่า นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านและการศึกษาค้นคว้าคิดเป็นร้อยละ 85.84 ดังนั้นเพื่อให้ผู้ปกครองนักเรียนมีส่วนร่วมในการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านและการค้นคว้า โรงเรียนควรบรรจุกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและการศึกษาค้นคว้า ที่ให้ผู้ปกครองนักเรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมตั้งแต่เริ่มดำเนินกิจกรรม โดยเน้นกิจกรรมที่ให้เด็กได้ศึกษาค้นคว้าที่บ้านของนักเรียนเอง อาทิ กิจกรรมอ่านหนังสือให้พ่อแม่ฟังก่อนนอน กิจกรรมอ่านทบทวนบทเรียนประจำวันให้ผู้ปกครองฟัง เป็นต้น
2. ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินโครงการครั้งต่อไป
2.1 การประเมินครั้งต่อไปควรเพิ่มประเด็นการประเมิน โดยการตรวจสอบความเป็น ไปได้ของกิจกรรมว่ากิจกรรมใดส่งผลต่อการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านของนักเรียนอยู่ในระดับใด เพื่อคัดเลือกการปรับปรุงหรือขยายขอบเขตของกิจกรรมให้มีคุณภาพสูงขึ้นต่อไป
2.2 การประเมินโครงการครั้งต่อไปควรเพิ่มประเด็นในการประเมินคือ การประเมินความคุ้มค่าของการจัดทำโครงการโดยเปรียบเทียบกับงบประมาณที่ได้รับจัดสรรและผลผลิตที่ได้ รับจากการดำเนินงานโครงการ