บทคัดย่อ
เทพปทาน สีแก้ว. (2559). รูปแบบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมแบบมีส่วนร่วม
ของโรงเรียนสตรีสิริเกศ ภายใต้การบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสตรีสิริเกศ ภายใต้การบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ 2)ประเมินรูปแบบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสตรีสิริเกศ ภายใต้การบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ และ 3) เพื่อศึกษาผลจากการใช้รูปแบบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสตรีสิริเกศ ภายใต้การบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ฝ่ายบริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และกลุ่มตัวแทนผู้ส่งมอบ ตัวแทนพันธมิตร และตัวแทนผู้ให้ ความร่วมมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสตรีสิริเกศ
ภายใต้การบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ เป็นการบริหารจัดการแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบ แบ่งเป็น 1) ตัวป้อน (Input) 2) กระบวนการ (Process) 3) ผลลัพธ์ (Output)
2. รูปแบบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสตรีสิริเกศ
ภายใต้การบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ มีค่าดัชนีความสอดคล้องแต่ละข้อ อยู่ระหว่าง 0.6 1.0 ซึ่งมี ค่าสูงกว่า 0.5 จึงจะถือว่ายอมรับรูปแบบการบริหารจัดการที่สร้างขึ้น และมีค่าดัชนีความเหมาะสมแต่ละข้ออยู่ระหว่าง 4.40 4.80 ซึ่งมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ขึ้นไป จึงจะถือว่ายอมรับรูปแบบการบริหารจัดการที่สร้างขึ้น
3. ผลจากการใช้รูปแบบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมแบบมีส่วนร่วม
ของโรงเรียนสตรีสิริเกศ ภายใต้การบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ พบว่าความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ แหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อม ของโรงเรียนสตรีสิริเกศ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.98 และเมื่อพิจารณา รายด้านพบว่าการมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 4.74 รองลงมา ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการวางแผนและตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การมีส่วนร่วมในการประเมินผลและปรับปรุงการดำเนินการ