บทคัดย่อ
ชื่อรายงาน การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทยตามแนวคิด Active Learning ร่วมกับทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์
ชื่อผู้รายงาน นายประจักษ์ น้อยเหนื่อย
ปีที่รายงาน 2561
การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทย ตามแนวคิด Active
Learning ร่วมกับทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการ
เรียนรู้วรรณคดีไทย ตามแนวคิด Active Learning ร่วมกับทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์
ชิ้นงาน (Constructionism) กับนักเรียนที่เรียนด้วยการสอนแบบปกติ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
6 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทย ตามแนวคิด Active Learning ร่วมกับทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการ
สร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 นักเรียนจำนวน 48 คน ได้มาโดย
วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม กำหนดเป็นกลุ่มทดลองสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทย ตามแนวคิด Active Learning ร่วมกับทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism) และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/10 โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 นักเรียนจำนวน 38 คน เป็นกลุ่มควบคุมที่สอนโดยใช้การสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1)รูปแบบการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทยตามแนวคิด Active Learning ร่วมกับทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism) โดยมีขั้นตอนการเรียนรู้ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นกระตุ้นความคิด ขั้นที่ 2 ขั้นพินิจเนื้อหา ขั้นที่ 3 ขั้นพัฒนาชิ้นงาน ขั้นที่ 4 ขั้นสื่อสารความรู้ ขั้นที่ 5 ขั้นนำสู่สังคม (Expand to the community) 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วรรณคดีไทย และ3) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทยฯที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยผ่านการตรวจสอบจากครูผู้เชี่ยวชาญ และหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบค่าที (t test) แบบ Dependent และ Independent
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทย ตามแนวคิด Active Learning ร่วมกับทฤษฎีการสร้างความรู้
ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ ที่มีชื่อว่า SCDRE Model ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ 2 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ และองค์ประกอบเชิงกระบวนการการเรียน โดยมีขั้นตอนการเรียนรู้ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นกระตุ้นความคิด (Stimulate ideas) ขั้นที่ 2 ขั้นพินิจเนื้อหา (Consider the content) ขั้นที่ 3 ขั้นพัฒนาชิ้นงาน (Develop work pieces) ขั้นที่ 4 ขั้นสื่อสารความรู้ (Reflect knowledge) ขั้นที่ 5 ขั้นนำสู่สังคม (Expand to the community) ซึ่งรูปแบบการการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วรรณคดีไทยของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่สอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้
วรรณคดีไทย ตามแนวคิด Active Learning ร่วมกับทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism) กับการสอนแบบปกติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังรูปแบบฯที่พัฒนาขึ้นมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก