บทสรุปผู้บริหาร
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะ
ใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านซับชุมพล ปีการศึกษา 2561
ผู้รายงาน นางสาวจิรัฐิติกาล สุทธานุช
ปีที่รายงาน 2561
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะ
ใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านซับชุมพล ปีการศึกษา 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการดำเนินงาน และด้านผลผลิตโดยประยุกต์รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) โดยศึกษาจากประชากรและกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 29 คน
กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2561 จำนวน 29 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานปีการศึกษา 2561 จำนวน 7 คน และครู ศึกษาจากประชากรครู ปีการศึกษา 2561 จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะ ข้อคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 9 ฉบับ จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปดังนี้
1. จากผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม พบว่า ความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
( = 4.47, S.D. = 0.51) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. จากผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น พบว่า ความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
( = 4.48, S.D. = 0.54) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. จากผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน พบว่า ความคิดเห็นของครู และ
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นโดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.48, S.D. = 0.53) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิต พบว่า
4.1 ความคิดเห็นของครู และนักเรียนที่มีต่อการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ
พัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียน โรงเรียนบ้านซับชุมพล
ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, S.D. = 0.45) และภาพรวมมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมาก ( = 4.49, S.D. = 0.49) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ความคิดเห็นของครู นักเรียน และผู้ปกครองที่มีต่อคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียน
ของนักเรียนโรงเรียนบ้านซับชุมพล หลังดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียน ของนักเรียน โรงเรียนบ้านซับชุมพล ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมมีความคิดเห็น
อยู่ในระดับมาก ( = 4.47, S.D. = 0.50) และภาพรวมมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมาก
( = 4.48, S.D. = 0.50) ผ่านเกณฑ์การประเมิน ตามลำดับ
4.3 ความคิดเห็นของครูและนักเรียน ที่มีต่อพฤติกรรมการสอนของครูในการ
ส่งเสริมให้นักเรียนใช้แหล่งเรียนรู้ โรงเรียนบ้านซับชุมพล ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.48) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ความคิดเห็นของครู นักเรียน และผู้ปกครอง ที่มีพึงพอใจของครู นักเรียน
และผู้ปกครอง ที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียน
ของนักเรียน โรงเรียนบ้านซับชุมพล ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับ
มากที่สุด ( = 4.56, S.D. = 0.54) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
จากผลการประเมินข้างต้น ผู้ประเมินมีข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปประยุกต์ใช้ต่อผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียน โรงเรียนบ้านซับชุมพล ปีการศึกษา 2561 ดังนี้
1. จากผลการประเมินโครงการด้านสภาวะแวดล้อม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้น ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียนต้องให้ความสำคัญกับการประชุมชี้แจงถึงความจำเป็น วัตถุประสงค์ เชื่อมโยงกับนโยบายต้นสังกัด ตลอดจนจูงใจให้ผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการมุ่งมั่นที่ดำเนินงานโดยคิดว่าเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องดำเนินการตามนโยบายและพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
2. จากผลการประเมินโครงการด้านปัจจัยเบื้องต้น พบว่า อยู่ในระดับมาก ดังนั้นโรงเรียนควรแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ โดยศึกษาแนวทางการดำเนินงาน สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้เกี่ยวข้อง โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการดำเนินการ รวมถึงการระดมทุนให้เพียงพอต่อการดำเนินงานโครงการ
3. จากผลการประเมินโครงการด้านกระบวนการ พบว่า อยู่ในระดับมาก ดังนั้นการดำเนินการคณะกรรมการดำเนินงานต้องจัดทำแผนให้ชัดเจน ระบุกิจกรรม เวลา แหล่งงบประมาณ รับผิดชอบ คณะกรรมการและครูทุกคนควรร่วมวิเคราะห์สภาพปัญหา ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมิน
และปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
4. จากผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า การดำเนินกิจกรรมตามโครงการอยู่ในระดับมาก เพราะฉะนั้นควรมีการจัดทำโครงการต่อเนื่อง โดยมีการนิเทศ กำกับ ติดตามเพื่อช่วยเหลือในการแก้ปัญหา เพื่อให้การดำเนินโครงการเกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5. จากผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า คุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียน อยู่ในระดับมาก ดังนั้น โรงเรียนกับผู้ปกครองควรหาแนวทางในการส่งเสริมคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียน โดยจัดกิจกรรมเสริมที่บ้าน ตลอดจนแนะนำ ติดตาม ประเมินและรายงานผลให้ทั้งสองฝ่ายรับทราบอย่างต่อเนื่อง
6. จากผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า ครูมีพฤติกรรมการสอนในการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้อยู่ในระดับมาก ควรมีการส่งเสริมการจัดทำแผนการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น โดยเปิดโอกาสให้ภูมิปัญญา ผู้รู้ มีส่วนร่วมในการวางแผน
7. จากผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า ความพึงพอใจของ ครู นักเรียนและผู้ปกครอง
ที่มีต่อการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก ดังนั้น โรงเรียนจึงควรให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการรับรู้ ร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ ร่วมประเมินความพึงพอใจ เพื่อปรับกิจกรรมให้เหมาะสม และร่วมกันหาแนวทางพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่อไป
ข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไป
1. ควรมีการประเมินผลกระทบที่เกิดจากโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียน
2. ควรมีการวิจัยหรือรายงานเชิงคุณภาพควบคู่กับเชิงปริมาณ
3. ควรใช้รูปแบบการประเมินแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลและสารสนเทศในด้านอื่น ๆ
ที่สามารถนำไปใช้พัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพต่อไป