ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD
ร่วมกับวัสดุกราฟิก เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการเจริญเติบโตของเรา
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางวราพร พลสยาม
โรงเรียน เทศบาล 4 (อมร สะเพียรชัย อุทิศ) กองการศึกษา เทศบาลเมืองชัยภูมิ
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงหาดไทย
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับวัสดุกราฟิก เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการเจริญเติบโตของเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (2) สร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับวัสดุกราฟิก เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการเจริญเติบโตของเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนและหลังเรียน ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับวัสดุกราฟิก เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการเจริญเติบโตของเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับวัสดุกราฟิก เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการเจริญเติบโตของเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ (5) ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับวัสดุกราฟิก เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการเจริญเติบโตของเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 4 (อมร สะเพียรชัย อุทิศ) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การสอนแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับวัสดุกราฟิก เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 12 แผนการจัดการเรียนรู้ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบปรนัยเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่าย ระหว่าง 0.20-0.80 มีค่าอำนาจจำแนก 0.20 ขึ้นไป และมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.760 และ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจ ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Pair)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับวัสดุกราฟิก เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการเจริญเติบโตของเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความพึงพอใจ และความคงทนในการเรียนรู้ โดยใช้แบบประเมินค่าดัชนีความสอดคล้อง ทั้งแบบวิเคราะห์เอกสาร และแบบสัมภาษณ์ จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน พบว่า มีความสอดคล้อง โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 1.00 ทุกรายการ
2. รูปแบบการเรียนการสอน โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับวัสดุกราฟิก เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการเจริญเติบโตของเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 32 คน ปรากฏว่ามีเกณฑ์ประสิทธิภาพที่ 83.44/83.44 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ และค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.67 หรือคิดเป็นร้อยละ 67.00
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับวัสดุกราฟิก เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการเจริญเติบโตของเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการเรียน โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับวัสดุกราฟิก เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการเจริญเติบโตของเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.28
5. นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับวัสดุกราฟิก เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการเจริญเติบโตของเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความคงทนในการเรียนรู้ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .01