:กรณีโรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ เทศบาลเมืองน่าน (บ้านภูมินทร์) จังหวัดน่าน
ผู้วิจัย นายสิทธิพันธ์ พานิชอิน
สถานศึกษา โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ เทศบาลเมืองน่าน (บ้านภูมินทร์) จังหวัดน่าน
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2559 - 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับกระบวนการบริหารจัดการโรงเรียนปลอดภัย มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการใช้รูปแบบ (2) เพื่อพัฒนารูปแบบ (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบ (4) เพื่อประเมินรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบความรู้ด้านการสร้างหลักสูตรท้องถิ่นของครู แบบประเมินหลักสูตรของครู แบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบ แบบทดสอบความรู้เรื่องโรงเรียนปลอดภัยของนักเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนในหลักสูตรและแบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจและเจตคติต่อชุมชนของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าร้อยละสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า
1) แนวคิดกระบวนการบริหารจัดการชุมชนปลอดภัย/โรงเรียนปลอดภัยของชุมชนในเขตเทศบาลเมืองน่านที่เป็นจุดเด่น คือ การรับรอง 31ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองน่านเป็นชุมชนปลอดภัย ลำดับที่ 316 ของโลก เป็นลำดับที่ 3 ของประเทศไทย โดยองค์การอนามัยโลก (WHO CC )
2) รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับกระบวนการบริหารจัดการโรงเรียนปลอดภัยที่พัฒนาขึ้นเรียกว่า LADIE Model ประกอบด้วย การทำความเข้าใจร่วมกัน (Learning) วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis) ร่วมกันจัดทำหลักสูตรและตรวจสอบ (Design) การนำหลักสูตรไปใช้ (Implementation) และการประเมินหลักสูตร (Evaluation)
3) หลังจากการนำรูปแบบไปใช้กับครูโรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ เทศบาลเมืองน่าน (บ้านภูมินทร์) พบว่า มีความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นอย่างดี จากผลการทดสอบด้านความรู้ด้านการพัฒนาหลักสูตรและผลการประเมินหลักสูตรทั้ง 3 หลักสูตรของครูในภาพรวมมีอยู่ในระดับมากทั้งหมด สำหรับความพึงพอใจของครูที่มีต่อการใช้รูปแบบพบว่า ครูมีความพึงพอใจเพราะประโยชน์ต่อครูทั้งในด้านการส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาตนเองในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนและกระตุ้นให้ครูมีความสัมพันธ์กับชุมชนมากขึ้น
4) นักเรียนมีความรู้เรื่องโรงเรียนปลอดภัยและมีความพึงพอใจที่ได้รับประสบการณ์ตรงจากผู้รู้หรือภาคีเครือข่ายชุมชนปลอดภัย ซึ่งเป็นความรู้ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงของผู้เรียนและนักเรียนมีความรู้สึกภูมิใจที่มีผู้นำชุมชนและมีเจตคติที่ดีต่อท้องถิ่นของตนเอง