บทคัดย่อ
รายงานผลการสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีการ
จัดการเรียนรู้ แบบวัฏจักรการสืบ เสาะหาความรู้ (5 E )เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 4
(บ้านแหลมทราย) มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้วิธีการจัดการเรียนแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5 E )เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิด เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 75/75
2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาวสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5 E ) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่มจำนวน 4 ห้องเรียนจับสลากกลุ่มตัวอย่างได้ 1 ห้อง คือห้องประถมศึกษาปีที่ 5/1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ 2. แผนการจัดการเรียนรู้ 3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4.แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ t test (Dependent Samples)
ข
ผลการวิจัยพบว่า
1 วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้วิธีการจัดการเรียนแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ปรากฏว่า เมื่อคำนวณหาประสิทธิภาพของคะแนนรวมจากกลุ่มตัวอย่าง ชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.67/86.53 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ 75/75
2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.48, S.D. = 0.23)