การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and development) โดยใช้กระบวน
การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสังเคราะห์ขึ้น เป็นการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์
เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 4) เพื่อปรับปรุงและประเมินผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาล๑ (สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลอุปถัมภ์) สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองชุมแพ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 30 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมเรียนรู้รูปแบบ UCDE model ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตสาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 5 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตสาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 10 ข้อ และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตสาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test (Dependent Sample)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผลของการใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างพบว่า
1.1 ปัญหาในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ พบว่า เนื้อหายากและซับซ้อน เวลาสอนผู้สอนให้ทำโจทย์น้อยเกินไป ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานน้อยและผู้เรียนไม่เข้าใจขั้นตอนการคิดค้นหาคำตอบ จำสูตรต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ไม่ได้
1.2 ความต้องการในการแก้ปัญหาการเรียนการสอนดังกล่าวของผู้เรียน พบว่า ผู้เรียนต้องการให้ผู้สอนใช้วิธีสอนที่ทำให้เข้าใจง่าย ๆ มีกิจกรรมที่หลากหลาย น่าสนใจและฝึกการหาคำตอบจากแบบฝึกให้มาก ๆ แสดงวิธีการหาคำตอบที่หลากหลายวิธี
2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
1) ขั้นเข้าใจ (Understanding) ผู้สอนกระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจในเนื้อหาที่จะ
เรียนและทบทวนความรู้พื้นฐานของนักเรียนโดยการถามตอบในเรื่องที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน เปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความรู้เดิม เป็นการทำความเข้าใจเพื่อให้นักเรียนปรับเปลี่ยนแนวคิดในปัจจุบันในหัวข้อของเนื้อหาสาระการเรียนให้ชัดเจน
2) ขั้นเข้าถึง (Connecting) ผู้สอนเสนอปัญหาทางคณิตศาสตร์ ที่นำไปสู่ความขัดแย้งทางปัญญา เชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ ให้นักเรียนทำความเข้าใจ วางแผนการแก้ปัญหา และแสดงวิธีทำเพื่อหาคำตอบและสรุปมโนทัศน์เป็นรายบุคคล จากนั้นจัดนักเรียนให้เข้าร่วมกันเป็นกลุ่มย่อย4-6 คน แบบคละความสามารถ ให้นักเรียนได้แสดงแนวคิดของตนต่อสมาชิกในกลุ่ม จากนั้นร่วมกันสรุปแนวคิดและมโนทัศน์ของกลุ่มเพื่อเตรียมนำเสนอ
3) ขั้นพัฒนา (Development) การสร้างชิ้นงาน แบบฝึก สุ่มตัวแทนนักเรียน 2-3
กลุ่ม นำเสนอ หน้าชั้นเรียนเพื่อแสดงแนวคิดการหาคำตอบ โดยนักเรียนทุกคนร่วมกันตรวจสอบขั้นตอนการแก้ปัญหาและคำตอบเพื่อนำไปสู่การสรุปมโนทัศน์ที่ถูกต้อง
4) ขั้นประเมินค่า (Evaluation) ผู้สอนและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ เสนอโจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ใหม่ การตรวจชิ้นงาน เพื่อให้นักเรียนได้นำมโนทัศน์ที่ได้เรียนรู้ไปแล้วมาใช้แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้กระบวนการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์
ซึ่งขั้นตอนกิจกรรมการจัดการเรียนรู้นี้ใช้ชื่อว่า UCDE model มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62, S.D. = 0.54)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผลการทดลองหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 30 คน โดยกลุ่มทดลอง มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 81.92/82.33
4. ผลการปรับปรุงและประเมินผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2
4.1 ผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 81.87/83.17 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ 80/80
4.2 ผลการประเมินด้วยแบบทดสอบวัดความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ พบว่า นักเรียนมีทักษะความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4.3 ผลการประเมินด้วยแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05