ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง กองการศึกษาเทศบาลตำบลท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ปีที่ดำเนินโครงการ ปีการศึกษา 2560
ผู้ประเมิน นายธวัชชัย รัศมีทอง
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลวัดกลาง กองการศึกษาเทศบาลตำบลท่าเรือ
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
บทคัดย่อ
การประเมินผลโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง
กองการศึกษาเทศบาลตำบลท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีการศึกษา 2560 ในครั้งนี้ ใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model เป็นแนวทางในการประเมิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียน โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง ใน 4 ด้าน ได้แก่ ประเมินด้านสภาพแวดล้อม ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ประเมินด้านกระบวนการ และประเมินด้านผลผลิต
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ประกอบด้วย ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง กองการศึกษาเทศบาลตำบลท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ประเมินได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน เพื่อหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) หาค่าอำนาจจำแนก (Item discriminates) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมินพบว่า
6.1 ด้านสภาพแวดล้อม (Context) พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเห็นว่าสภาพแวดล้อมของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง กองการศึกษาเทศบาลตำบลท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยรวมผ่านเกณฑ์
มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.35) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 1 ข้อ ระดับมาก 9 ข้อ โดยสภาพแวดล้อมของโครงการ ข้อที่ว่า ความเป็นไปได้ของโครงการ ความเหมาะสมอยู่ในอันดับสูงสุด ( = 4.56) อันดับรองลงมา ได้แก่ ผลสำเร็จของโครงการส่งผลดีต่อผู้เรียน
( = 4.50) วัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจน ( = 4.46) และวิธีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เหมาะสมกับสภาพปัจจุบันของสถานศึกษา ( = 4.44) ตามลำดับ ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน
6.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเห็นว่าปัจจัยในการดำเนินงานตามโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง โดยรวมผ่านเกณฑ์มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.22) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 2 ข้อ ระดับมาก 23 ข้อ โดยปัจจัยในการดำเนินงานตามโครงการ ข้อที่ว่า โรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้มีความเข้าใจหลักการและวิธีการดำเนินการตามโครงการโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และเผยแพร่
ผลการดำเนินงานอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง อยู่ในอันดับสูงสุด ( = 4.56) ส่วนอันดับรองลงมา การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินตามโครงการของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องมีความเหมาะสม
( = 4.55) โรงเรียนมีวิสัยทัศน์ หรือปรัชญา พันธกิจ เป้าหมาย กลยุทธ์ที่มีจุดเน้นในการพัฒนาคุณภาพนักเรียนด้านการบริหารจัดการ มีการนิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง ( = 4.46) วิธีการและกิจกรรมที่ใช้ในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สถานศึกษามีความสอดคล้องกัน ( = 4.45) ตามลำดับ ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน
6.3 ด้านกระบวนการ (Process) พบว่า ความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในขั้นการวางแผนการดำเนินงานตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมผ่านเกณฑ์อยู่ในระดับมาก
( = 4.33) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 2 ข้อ ระดับมาก 14 ข้อ โดยความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินงาน ด้านขั้นตอนการประเมินผล ข้อที่ว่ามีการจัดหา จัดสร้าง เครื่องมือวัดและประเมินผล อยู่ในอันดับสูงสุด ( = 4.56) อันดับรองลงมา ได้แก่ การจัดบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ( = 4.51) การมอบหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการตามขั้นตอนระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ( = 4.49) และมีการปรับปรุงการปฏิบัติงานของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ( = 4.39) ตามลำดับ ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน
6.4 ด้านผลผลิต (Output) สรุปผลการประเมินได้ดังนี้
6.4.1 การประเมินผลการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ขั้นตอน ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยรวมผ่านเกณฑ์อยู่ในระดับมาก ( = 4.22)
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 2 ข้อ ระดับมาก 23 ข้อ โดยผลการการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 3 การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ข้อมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนานักเรียนที่สอดคล้องกับสารสนเทศผลการคัดกรองนักเรียนของสถานศึกษาอยู่ในอันดับสูงสุด ( = 4.57) อันดับรองลงมา ได้แก่ มีการติดตามพฤติกรรมจากการช่วยเหลือส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง ( = 4.56) ขั้นตอนที่ 1 การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ข้อมีการรวบรวมข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคลด้วยวิธีการที่เหมาะสมหลากหลาย ( = 4.44) และขั้นตอนที่ 4 ข้อการป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหานักเรียน ( = 4.43) ตามลำดับ ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน
6.4.2 การประเมินผลประเมินผลการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้านคุณภาพผู้เรียน ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนโดยรวมผ่านเกณฑ์อยู่ในระดับมาก ( = 4.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 7 ข้อ ระดับมาก 21 ข้อ โดยคุณภาพนักเรียนด้านเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และสังคม ข้อที่ว่าเป็นแบบอย่างที่ดีและมีจิตสาธารณะ อยู่ในอันดับสูงสุด ( = 4.64) อันดับรองลงมา ได้แก่ ด้านรักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น สามารถจัดการกับปัญหาและอารมณ์ของตนเองได้ ข้อสามารถใช้หลักเหตุผลในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง
( = 4.55) ศรัทธาและเชื่อมั่นในตนเอง เห็นคุณค่าและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตนเองและผู้อื่น และด้านเจตคติที่ดี และมีทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพสุจริต ข้อรับผิดชอบตามบทบาท
หน้าที่ในฐานะสมาชิกของครอบครัว และด้านมีเจตคติที่ดี และมีทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพสุจริต ข้อมีแนวทางและเหตุผลในการตัดสินใจเลือกอาชีพ ( = 4.54) ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน
6.4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจ ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยภาพรวมผ่านเกณฑ์ อยู่ในระดับมาก ( = 4.40) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยความพึงพอใจด้านการตรวจสอบทบทวนและปรับปรุงคุณภาพการศึกษาข้อที่ว่า ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนส่งเสริมให้นักเรียนเป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข และข้อนักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสังคม อยู่ในอันดับสูงสุด
( = 4.48) อันดับรองลงมา ได้แก่ การประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการเป็นไปอย่างทั่วถึงทั้งภายในและภายนอก ( = 4.45) นักเรียนที่มีปัญหายากแก่การแก้ไขได้รับการช่วยเหลือโดยการส่งต่อทั้งภายในและภายนอก ( = 4.42) ครูประจำชั้นคัดกรองนักเรียนกลุ่มปกติ เสี่ยง/มีปัญหา เพื่อรู้ความต้องการและส่งเสริมได้ถูกต้อง และผู้ปกครอง และนักเรียน มีความพึงพอใจให้ความร่วมมือสนับสนุนงานระบบดูแลช่วยเหลือ ( = 4.40) ตามลำดับ ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน