ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านคุณภาพผู้เรียนแบบมีส่วนร่วม
แบบ SMART LD โรงเรียนงัวบาวิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
แบบมีส่วนร่วม
ผู้วิจัย เพ็ญศรี จันทร์พาหิรกิจ
สถานที่ โรงเรียนงัวบาวิทยาคม ตำบลงัวบา อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
ปีที่พิมพ์ 2561
บทคัดย่อ
การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการศึกษาเพราะเป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของผู้เรียน การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านคุณภาพผู้เรียนแบบมีส่วนร่วมแบบ SMART LD โรงเรียนงัวบาวิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของการบริหารงานวิชาการด้านคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนงัวบาวิทยาคม 2) พัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านคุณภาพผู้เรียนแบบมีส่วนร่วมแบบ SMART LD โรงเรียนงัวบาวิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหาร งานวิชาการด้านคุณภาพผู้เรียนแบบมีส่วนร่วมแบบ SMART LD โรงเรียนงัวบาวิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านคุณภาพผู้เรียนแบบมีส่วนร่วมแบบ SMART LD โรงเรียนงัวบาวิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะคือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนงัวบาวิทยาคม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และ คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนงัวบาวิทยาคม ในปีการศึกษา 2560 จำนวน 356 คน ได้มาโดยครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลาก (Sample Random Sampling) ส่วนนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ เครซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ระยะที่ 2 การรูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านคุณภาพผู้เรียนแบบมีส่วนร่วมแบบ SMART LD โรงเรียนงัวบาวิทยาคม ด้วยกระบวนการ
วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และ ครูวิชาการโรงเรียน ที่สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 45 คน ซึ่งได้มาของผู้ให้ข้อมูล โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมิน ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านคุณภาพผู้เรียนแบบมีส่วนร่วมแบบ SMART LD โรงเรียนงัวบาวิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประชากร ได้แก่ ผู้บริหาร ครูที่ปฏิบัติการสอน และนักเรียน โรงเรียนงัวบาวิทยาคม ปีการศึกษา 2560 จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ คู่มือการดำเนินงาน และแบบประเมิน ระยะที่ 4 การศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านคุณภาพผู้เรียนแบบมีส่วนร่วมแบบ SMART LD โรงเรียนงัวบาวิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนงัวบาวิทยาคม จำนวน 356 คน ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลาก (Sample Random Sampling) ส่วนนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนงัวบาวิทยาคม โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.13) และ ปัญหาการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนงัวบาวิทยาคม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.89)
2. รูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านคุณภาพผู้เรียนแบบมีส่วนร่วมแบบ SMART LD โรงเรียนงัวบาวิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) ขอบข่ายของงานวิชาการ 2) การพัฒนาทีมงานวิชาการในสถานศึกษา 3) การมีส่วนร่วม 4) การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมตามแนวคิดของ เคมมิส และแม็คแทกการ์ท
3. การทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านคุณภาพผู้เรียนแบบมีส่วนร่วม แบบ SMART LD โรงเรียนงัวบาวิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม พบว่า รอบที่ 1 วันที 16 พฤษภาคม 30 กันยายน 2560 ประชุมสรุปผลในวันที่ 30 กันยายน 2560 และรอบที่ 2 วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 31 มีนาคม 2561 ประชุมเพื่อสรุปผลในวันที่ 24 มีนาคม 2561 พบว่า 1) ผลการปฏิบัติงานตามขอบข่ายงานวิชาการ ได้แก่ การวางแผนงานวิชาการ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ การวัดผลและประเมินผลการเรียนและงานทะเบียนนักเรียน การแนะแนวการศึกษา และการประเมินผล 2) ผลการพัฒนาทีมงานวิชาการในในโรงเรียน ได้แก่ การรับรู้และค้นหาปัญหา การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การวางแผนปฏิบัติการ การนำแผนไปปฏิบัติ และการประเมินผลลัพธ์ 3) ผลการมีส่วนร่วมที่เกิดขึ้นในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน การมีส่วนร่วมวางแผนกลยุทธ์ การมีส่วนร่วมการวางแผน การมีส่วนร่วมการปฏิบัติการ การมีส่วนร่วมติดตามและประเมินผล การมีส่วนร่วมการตัดสินใจ การมีส่วนสร้างความชื่นชมร่วมกับชุมชน และการมีส่วนร่วมปรับปรุงและพัฒนา
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านคุณภาพผู้เรียนแบบมีส่วนร่วมแบบ SMART LD โรงเรียนงัวบาวิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.42) เรียงลำดับค่าเฉลี่ยความพึงพอใจจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และ ครูผู้สอน