ชื่อเรือง รูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้การแปรรูปพืชสมุนไพรในชุมชน ตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
โรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์
ผู้วิจัย ปพิธพิน พูลพุทธา
สถานที่ โรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
ปีที่วิจัย 2560
บทคัดย่อ
รูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้การแปรรูปพืชสมุนไพรในชุมชน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้การแปรรูปพืชสมุนไพรในชุมชน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของรูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้การแปรรูปพืชสมุนไพรในชุมชน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์ ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้การแปรรูปพืชสมุนไพรในชุมชน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์ จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการแปรรูปสมุนไพรในชุมชน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 8 แผน 2) หลักสูตรท้องถิ่น เรื่องการแปรรูปพืชสมุนไพรในชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประกอบด้วย 8 หน่วยการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการงานอาชีพ เรื่อง การแปรรูปพืชสมุนไพรในชุมชน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ จำนวน 1 ฉบับ 40 ข้อ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้การแปรรูปพืชสมุนไพรในชุมชน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย
1. ผลพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้การแปรรูปพืชสมุนไพรในชุมชน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 พบว่า กระบวนการเรียนการสอน โดยใช้เทคนิค MDDCES model ในวิชาการงานอาชีพ เรื่องการแปรรูปพืชสมุนไพรในชุมชน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
M = MOTIVATION = การจูงใจ หมายถึง จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจ (MOTIVE) ในการกระทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ
D = DEMONSTRATION= การสาธิต หมายถึง ครูสาธิตและแสดงให้ดู โดยลงมือกระทำในทุกขั้นตอนอย่างชัดเจน เพื่อให้นักเรียนเกิดความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตามได้
D = DO = การปฏิบัติ หมายถึง การกระทำซึ่งในที่นี่ จะเกี่ยวข้องกับงานที่นักเรียนได้รับมอบหมายให้กระทำในวิชาการงานอาชีพ
C = CREATIVE THINKING = ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ให้นักเรียนเกิดการคิดหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่แตกต่างไปจากเดิม และใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม
E = EVALUATION = การประเมินผล หมายถึง ครูวัดผลและประเมินผลกิจกรรม ตามระบบการตัดสินผู้เรียนให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ทั้ง 3 ด้านคือ ความรู้ (K) ทักษะ (P) และ เจตคติ (A) รวมถึงสมรรถนะ(C) ในเชิงคุณภาพ
S = SELLING = การขาย หมายถึง ให้นักเรียนรู้จักการทำมาหากิน เรียนรู้วิธีการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการจากผู้ขายไปสู่ผู้บริโภคโดยใช้เงินเป็นตัวกลางการแลกเปลี่ยน
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของรูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้การแปรรูปพืชสมุนไพรในชุมชน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์ ก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยหลักสูตรท้องถิ่น วิชาการงานอาชีพ เรื่องการแปรรูปพืชสมุนไพรในชุมขน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 22.64 คิดเป็นร้อยละ 35.57 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 33.27 คิดเป็นร้อยละ 83.18 แสดงว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยด้วยหลักสูตรท้องถิ่น วิชาการงานอาชีพ เรื่องการแปรรูปพืชสมุนไพรในชุมขน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้การแปรรูปพืชสมุนไพรในชุมชน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์ พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนต่อรูปแบบฯ พบว่า โดยภาพรวมความพึงพอใจของนักเรียนอยู่ในระดับมาก ( =4.02) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( =0.80)