ชื่อเรื่อง
ผู้วิจัยหน่วยงานปีที่วิจัย : รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยใน
ชั้นเรียนโรงเรียน เกษตรสมบูรณ์วิทยาคม สังกัดองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดชัยภูมิ
: นายศุภชัย บุราณ
: โรงเรียนเกษตรสมบูรณ์วิทยาคม
: พ.ศ. 2559 - 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลและสภาพความต้องการรูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเกษตรสมบูรณ์วิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเกษตรสมบูรณ์วิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเกษตรสมบูรณ์วิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเกษตรสมบูรณ์วิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 81 คน และครูพี่เลี้ยงที่ร่วมกำกับติดตาม จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสังเกต ประเด็นสนทนากลุ่ม และแบบสรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test for Dependent ค่า Wilcoxon Signed Rank Test และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้ และความสอดคล้องของการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเกษตรสมบูรณ์วิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ มีชื่อว่า ซีทีเออีอาร์ (CTAER Model) โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อ ระหว่าง 0.80 - 1.00 ความเป็นไปได้ของรูปแบบ มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อ ระหว่าง 0.80 1.00 และความสอดคล้องของรูปแบบมีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อ ระหว่าง 0.80 1.00 ทั้งนี้เนื่องมาจากขั้นตอนการพัฒนารูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนมีกระบวนการที่เป็นระบบ มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันทุกองค์ประกอบ ซึ่งก็คือ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ที่คาดหวัง
2. ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเกษตรสมบูรณ์วิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ สรุปได้ดังนี้
2.1 สมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน ของผู้รับการอบรม หลังการใช้รูปแบบ โดยภาพรวม พบว่า การฝึกอบรมส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ยอมรับสมมติฐานการวิจัย ข้อ 1 ที่กำหนดไว้ และเมื่อพิจารณาการประเมินผลการฝึกอบรมส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย พบว่า การประเมินด้านผลผลิต (Product) ด้านสภาวะแวดล้อม( Context ) ด้านปัจจัยนำเข้าของการฝึกอบรม (Inputs) และด้านกระบวนการ (Process) อยู่ในระดับมากที่สุด ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้นิเทศ พบว่า ก่อนและหลังการใช้
2.2 รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน ครูพี่เลี้ยงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน มีคะแนนสูงกว่า ก่อนการใช้รูปแบบพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน
2.3 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน ครูผู้รับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยอมรับสมมติฐานการวิจัย ข้อ 2 ที่กำหนดไว้ โดยหลังการใช้รูปแบบพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน มีคะแนนสูงกว่า ก่อนการใช้รูปแบบพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน
2.4 สมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้รับอบรม พบว่า ครูผู้รับการอบรม มีสมรรถภาพในการทำวิจัยในชั้นเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ยอมรับสมมติฐานการวิจัย ข้อ 2 ที่กำหนดไว้ และเมื่อพิจารณาสมรรถภาพในการทำวิจัยในชั้นเรียน พบว่า ครูผู้รับการอบรมมีสมรรถภาพในการทำวิจัยในชั้นเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด
2.5 ความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครู โดยภาพรวม พบว่า ครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครู อยู่ในระดับมากที่สุด ยอมรับสมมติฐาน การวิจัยข้อ 3 ที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ครูมีความพึงพอใจที่อยู่ในระดับ มากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ลำดับที่ 1 ด้านกระบวนการนำรูปแบบไปใช้ ลำดับที่ 2 ด้านผลของการใช้รูปแบบ และลำดับที่ 3 ด้านองค์ประกอบของรูปแบบ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ย จากมากไปหาน้อยดังนี้ คือ ดับที่ 1 องค์ประกอบเชิงกระบวนการ แบ่งออกเป็น 4 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นคัดกรอง 2) ขั้นการให้ความรู้ก่อนการพัฒนา 3) ขั้นการดำเนินการ 4) ขั้นการประเมินผลการพัฒนามีความเหมาะสม สัมพันธ์กัน ลำดับที่ 2 องค์ประกอบของรูปแบบมีความชัดเจนและเป็นระบบ ลำดับที่ 3 องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ มีความเหมาะสม ลำดับที่ 4 องค์ประกอบเชิงเงื่อนไข การนำไปใช้ และการติดตาม ดูแล มีความเหมาะสม และลำดับที่ 5 องค์ประกอบเชิงกระบวนการ และองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำไปใช้ มีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน ทั้งนี้จากการสนทนากลุ่ม พบว่า องค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครู ทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสม และสอดคล้องซึ่งกันและกัน กระบวนการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนมีความต่อเนื่องและสัมพันธ์กันในแต่ละขั้นตอน ถือเป็นกระบวนการที่มีประโยชน์มากในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ส่วนเงื่อนไขในการนำรูปแบบไปใช้นั้นเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการนำรูปแบบการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนไปปฏิบัติจริง โดยเฉพาะเงื่อนไขของครูที่มีความมุ่งมั่น จริงใจในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ด้วยความเต็มใจ ร่วมมือกัน มีความรับผิดชอบในการทำงาน และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก รวมทั้งผู้บริหารมีความตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ สื่อ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก และสร้างขวัญกำลังใจให้กับครูเป็นการส่งเสริมให้ครูเกิดการพัฒนาทั้งทางด้านการพัฒนาบุคลากรครู และการทำวิจัยในชั้นเรียน
2.6 ผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เกิดจากการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้ทำวิจัย พบว่า ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน นักเรียนมีผลการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยอมรับสมมติฐานการวิจัย ข้อ 4 ที่กำหนดไว้ โดยหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน นักเรียนทุกระดับชั้นทุกห้อง มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน